หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเตรียมตัวของมัคคุเทศก์

 

ที่มา:https://e-training.tpqi.go.th/courses/46/info


มัคคุเทศก์ คือหัวใจหลักของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้ที่ดูเเละเเละจัดการกับระบบตลอดทั้งการเดินทางท่องเที่ยว จึงทำให้มัคคุเทศก์จะต้องมีเทคนิควิธีการ เเละการเตรียมตัวสำหรับการเดินทางในเเต่ละครั้ง ภายใต้ความเเตกต่างหลาดหลาย ทั้งทางสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมัคคุเทศก์จำเป้นจะต้องมีไหวพริบ ความละเอียดรอบคอบ และการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้


1. เตรียมเอกสาร


ที่มา:https://thestandard.co/six-month-validity-passport-rule/


มัคคุเทศก์จะต้องมีละเอียดรอบคอบ เช่น ตรวจเอกสารทั้งหมด รายการนำเที่ยว สำเนาจดหมายติดต่อ บัตรเข้าชมสถานที่ ใบจองและเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง และระบุในใบงาน ตลอดจนตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ สัญชาติ วันเกิด อาชีพ และข้อมูลที่เป็นสำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่นคนนี้แพ้อาหารทะเล คนนี้ทานอาหารเจ เป็นต้น สัญญาเช่าใบจองใบมัดจำต่างๆ ของโรงแรมและสถานประกอบการอื่นๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยและเเก้ไขให้ทันหากเกิดปัญหาขึ้น



2.เตรียมอุกรณ์


ที่มา:https://th.lovepik.com/image-501413894/

      มัคคุเทศจะต้องจัดเตรียมป้าย หรือจัดทำสัญลักษณ์เครื่องหมายของบริษัทนำเที่ยว อาจเป็นป้ายบริษัทหรือป้ายที่มีรายชื่อนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการต้อนรับและแสดงให้นักท่องเที่ยวเห็น นามบัตรบริษัท เพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยว  บัตรติดกระเป๋าเดินทางโดยเขียนชื่อ สกุล รายการทัวร์ติดกระเป๋า อีกทั้ง สำเนาใบประกอบการของบริษัทกรณีตำรวจท่องเที่ยวขอตรวจ   ป้ายชื่อบริษัท สำหรับติดหน้ารถ หลังรถเพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจำได้ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย โดยการเตรียมกล่องปฐมพยาบาล เพื่อช่วยเหลือยามจำเป็น รวมทั้งอุปกรณือำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ กระติ๊กน้ำ แก้วน้ำ เครื่องดื่ม ถุงขยะ กระดาษชำระ ทรโข่ง ลำโพง ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์สันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นขนม ของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ  เพื่อเป็นการผ่อนคลาย สร้างความสนุนสนาน และทำความรู้จักกันมากขึ้นระหว่างเดินทาง 



3.เตรียมข้อมูล


ที่มา:https://sites.google.com/site/kantidamaneerat14574/


มัคคุเทศก์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จะแวะเยี่ยมชมไม่ว่าจะเป็นทางด้านประวัติศาสตร์ เกร็ดความรู้ ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมวิถีการดำรงชีวิต จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ ตลอดจนจังหวัดหรือเมืองที่ผ่าน รวมไปถึงประชากร อาชีพ การคมนาคม ภูมิประเทศ รวมทั้งศึกษารายละเอียดของโปรแกรมท่องเที่ยวให้เข้าใจ ศึกษารายการนำเที่ยว กำหนดการว่ามีกี่วัน  และพักกี่จังหวัด พักที่ไหน ต้องผ่านเมืองอะไรบ้าง แวะที่จุดไหน ผ่านเส้นทางใดบ้าง  ร้านอาหารที่จะไปรับประทานมีชื่อเสียงด้านใด ใช้ยานพาหนะอะไรบ้างในการเดินทาง การเดินทางแต่ละจุดห่างกันแค่ไหน ใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้จัดกิจกรรมบนรถ อีกทั้งารติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองอุทยานเเห่งชาติ กรมป่าไม้  ที่พัก กรมศิลปากร กรมทางหลวง ตำราวจทางหลวง ซึ่งมีความเเตกต่างกันออกไปในเเต่ละสถานที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


4.เตรียมความพร้อมของตนเอง


ที่มา:https://www.scholarship.in.th/part-time-job-practice-english/

มัคคุเทศก์คือบุคคลที่สำคัญในการเดินทาง เนื่องจากเป็นผู้จัดการระบบทั้งหมดตลอดการท่องเที่ยว นอกจากการเตรียมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเเล้ว สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมัคคุเทศก์ป่วยกระทันหันก็จะทำให้การท่องเที่ยวมีปัญหาได้ ซึ่งจะไม่เป็นผลต่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว ภาพลักษณืและความเสียหายของบริษัท ฉะนั่น มัคคุเทศก์จำเป็นต้องดูเเลสุขภาพของตัวเองให้ดี เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ เตรียมยาประจำตัว ตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้มัคคุเทศก์จะต้องเตรียม ของใช้และเอกสารส่วนตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่อการเดินทางและจะทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีความสุข



มักคุเทศก์คือผู้ควบคุมการเดินทางตลอดการท่องเที่ยว ฉะนั่นจะต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้รอบด้านเสมอ ตลอดจนศึกษารูปแบบกิจการของบริษัท อีกทั้งจะต้องเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง ซึ่งมัคคุเทศก์จะต้องมีความเข้าใจถ่องแท้และเเม่นยำในข้อมูลและแผนการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท รวมทั้งนโยบายของบริษัทกรณีเกิดปัญหา ทั้งนี้มัคคุเทกศก์จะต้องมีความมั่นใจในประสบการณ์ของตนเองเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักคุเทศก์จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการนำเที่ยวทุกครั้ง






อ้างอิง

วิชาชีพของมัคคุเทศก์เพื่อเข้าสู่มัคคุเทศก์อาเซียน.วิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563. จากhttp://www.elfhs.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/440/block




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น