หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บรรพบุรุษ-มนุษย์ของโลก

    

     

 

ที่มา:https://nawin648797431.wordpress.com/2019/02/27/การกำเนิดมนุษย์/


        มนุษย์ในปัจจุบันมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้ง เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ล้วนเเล้วเเต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายใต้ความเเตกต่างเหล่านั้นมนุษย์กลับมีจุดกำเนิดจากบรรพบุรุษเดียวกันเดียวกัน จากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี อาทิ รอยเท้า เครื่องเมืองเครื่องใช้ และร่อยร่อยวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนการที่ไม่ของหยุดนิ่งของมนุษย์ อันเป็นต้นกำเนินที่สำคัญของมวลมนุษยชาติ

ที่มา:https://teen.mthai.com/variety/57963.html


      ในยุคที่สรรพสัตว์อาศัยร่วมกันในป่าทวีปแอฟริกา ได้เริ่มมีการพัฒนาการของมนุษย์เกิดขึ้นราว 5 ล้าน-200,000 ล้านปี โดยการเปลี่ยนแปลงตนเองจากการอาศัยบนต้นไม้ลงมาอยู่บนพื้นดิน จากการเดิน 4 ขา กลายมาเป็น 2 ขา และได้มีการพัฒนนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเเตกต่างจากสัตว์ชัดเจน จึงได้มีการแบ่งมนุษย์โบราณ เป็น 4 ดังนี้ 


 กลุ่มออสตราโลบิธิคัส(Australopithecine) 

ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/931397/


เป็นกลุ่มเเรก ๆ ที่มีพัฒนาการมาจากสัตว์   โดยการเดิน ขา มีอายุราว 4-5 ล้านปี  ยังปราศจากวัฒนธรรมต่างๆ 


กลุ่มโฮโมแฮบิลิส(Homo Habilis) 

ที่มา:https://ro.pinterest.com/pin/505529126906308457/

 เริ่มมีการพัฒนามาขึ้นโดยเฉพาะการรุ้จักใช้เครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีลักษณะหยาบๆ และมีสมองที่ใหญ่ขึ้น


กลุ่มโฮโม อีเร็กตัส(Homo Erectus)  

ที่มา:https://www.bbc.com/news/science-environment-50827603

    เริ่มมีการอพยพกระจายตัวไปยังที่ต่าง ๆ และมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ละเอียด และกะทัดรัดมากขึ้น โดยเฉพาะการเริ่มใช้ไฟจากธรรมชาติครั้งแรก


กลุ่มโฮโมเซเปียน (Homo Sapiens )

ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/946355/view/homo-sapiens-idaltu-male-illustration

เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการมากที่สุดทั้งรูปร่างและวัฒนธรรม โดยการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่หลากหลายและการรู้จักผลิตไฟขึ้นมาใช้เอง รวมทังการอพพยพกระจายตัวไปยังที่ต่างๆทั่วทุกทวีป ในขณะที่สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้หัวกระโหลกมีขนาดใหญ่และใกล้เคียงกับมนุษย์ในปัจจุบัน



การปรากฎมนุษย์ในทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชียเป็นทวีปเชื่อกับทวีปแอฟริกา จึงปรากฎร่องรอยของมนุษย์ที่อพยพเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ โดยเป็นมนุษย์มนุษย์โฮโม อีเร็กตัส ปรากฏ 2 กลุ่มใหญ่ คือ มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งมีการค้นพบ ฟัน แผ่นกะโหลก กระดูดหน้าแข้งของมนุษย์ชวา(Java Man) บริเวญแม่น้ำโซโล ในหมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียในปี 1891-1892 ก่อนจะมีการค้นพบมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในปี 1923 ใกล้บริเวณหมู่บ้านโซโกเดียน มลฑลปักกิ่ง ประเทศจีน

  

การปรับตัวของมนุษย์ในยุคหิน


ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/931397/view/australopithecine-lucy-illustration

การปรับตัวของมนุษย์ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่มีความแตกต่างกันหลายอย่าง แต่ก็เกิดจากการพัฒนาต่อเนื่องกัน โดยมนุษย์ในยุคหินเก่ายังคงมีการใช้ชีวิตกับธรรมชาติเป็นหลักโดยการเดินทางเร่รอน อาศัยตามเชิงผาและถ้ำ อีกทั้งยังมีการหาของป่าล่าสัตว์เพื่อดำรงชีวิต รวมทั้งการอยู่อาศัยในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ เครื่องมือหินกะเทาะ ไม่ว่าจะเป็น มีด ขวาน เพื่อสับและตัดเนื้อสัตว์  ซึ่งยังไม่มีการตกแต่งให้ละเอียดมากนักจึงยังเป็นเครื่องมือแบบหยาบ ๆ

   ในขณะที่มนุษย์ยุคหินใหม่มีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมวลมนุษย์ โดยการพัฒนาเกษตรกรรม เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่รอน หาของป่าและล่าสัตว์ เป็นการอยู่กับที่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน หม้อ ไห เสื้อผ้า ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ในขณะที่เครื่องมือเครืองใช้มีความสวยงามมากขึ้นกว่ายุคหินเก่า เกิดจากการขัดตกแตกให้สวยงาม กะทัดรัด หลากหลายและใช้งานง่ายขึ้น อาทิ ขวานหินขัด มีด เคียว สิ่ว เลื้อย ประกอบกับการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อเป็นอารและการกักเก็บเสบียงอาหาร ตลอดจนการใช้ภาษาและการติดต่อสื่อสาร 


    การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์มีความสำคัญเพื่อให้เห็นร่องรอยของบรรพบุรุษ พัฒนาการ การปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมในแต่ละยุคสมัยล้วนมีความเเตกแต่งกันไป และยังเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโยลีในปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงต่อ ๆ ไปในอนาคต ฉะนั่น ร่องรองของมนุษย์ในอดีตจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจุดกำเนิดเเละพัฒนการอย่างไม่เคยหยุดนิ่งของมวลมนุษย์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น