หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เปลี่ยนผ่านตามกาลเวลา

         

     
ที่มา:http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter01/Agri_01.htm


       หากการเกิดมาของมนุษย์ทุกคนในโลก ต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คงไม่ต่างจากบรรพบุรุษของเราซึ่งใช้เวลายาวนานในการสร้าสรรค์สังคมและอารยธรรม ผ่านการเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ นานา ก่อกำเนิด ชุมชน บ้านเมือง อาณาจักน้อยใหญ่ตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ทั่วทุกทวีป จนกลายมาเป็นอารยธรรมเริ่มต้นของมวลมนุษย์ การสร้างวัฒนธรรม การติดต่อสัมพันธ์ เคลื่อนย้ายและถ่ายทอดภูมิปัญญาซึ่งกันและกันตลอดมา การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษย์โลกแบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ ๆ ดังนี้



1.Paleolithic Era (ยุคหินเก่า)


ที่มา:http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-culture/page1.htm

 ยุคหินเก่าเป็นยุคที่มีการเริ่มประดิษฐ์คิดค้นเมืองเมืองเครื่องใช้ขึ้นครั้งแรก แต่คงอาศัยตามธรรมชาติเป็นหลัก พึ่งพาธรรมชาติและสัตว์ป่า ในขณะที่ความซับซ้อนทางสังคมยังไม่มากนักและเทคโนโลยียังไม่หลากหลาย ทั้งนี้ก็เพื่อการอำนวยความสะดวกตามการใช้งานเท่านั้น เช่น การตัด การทบ เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณืที่บ่งบอกถึงมนุษย์ยุคหินเก่าดังนี้

-  การดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า หรือใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน

- อาศัยอยู่ตามเพิงผาและถ้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่าและป้องกันลมฝน

-มีการผลิตเครื่องเมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกโดยจะเป็นการกะเทาะหิน ซึ่งมีลักษณะหยาบและใหญ่ ไม่เหมือนในยุคอื่น ๆ

-เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานศิลปะ โดยการเขียนถ้ำ เช่นรูปสัตว์ รูปคน  เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างง ๆ และการสร้างประติมากกรมรูปเคารพขนาดเล็ก

-เป็นเริ่มต้นของพิธีกรรมและความเชื่อ ในการฝังศพและความเชื่อเรื่องโลกหน้า ซึ่งมีการฝั่งสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายด้วย

 

2.Nelithic Era (ยุคหินใหม่)

ที่มา:https://artinhistory0.blogspot.com/2019/04/neolithic.html

ในขณะที่ยุคหินใหม่มีความคาบเกี่ยวกับยุคหินเก่าและยุคเริ่มต้นอารยธรรมโดยการพัฒนาจากยุคหินเก่าและส่งต่อไปยังยุคต่อไป ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษย์ หรือเรียกว่าคลื่นลูกที่1 โดยการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมเกษตรและเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

  สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงและเอกลักษณ์ของยุคนี้ได้ดังนี้

-การลงหลักปักฐาน สร้างชุมชน แทนการเร่รอน โดยการสร้างบริเวณลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อสะดวกในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก

- เริ่มการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการล่าสัตว์ หาของป่าโดยการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง นำพืชป่ามาปลูก เช่น  วัว ควาย หมู ข้าว ถั่ว เป็นต้น เพื่อเป็นการผลิตอาหารแบบถาวร

-การผลิตเครื่องมื้อเครื่องใช้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ  ความสวยงามมากขึ้น อาทิ เครื่องมือหินขัด ขวานหินขัด หม้อ ไถ กี่ท่อผ้าเป็นต้น รวมทั้งการผลิตอาวุธต่าง ๆ

-ริ่มการสร้างสรรค์รูปบบงานศิลปะ เช่น ลายหม้อ เครื่องประดับ   

 

3.The First Cities and Civilization (ยุคเริ่มต้นอารยธรรม)

ที่มา:https://www.socialhizo.com/historia/edad-antigua/la-india-de-la-civilizacion-del-indo-al-periodo-vedico

หลังจากการพัฒนาสูงสุดในยุคหินแล้ว ภูมิปัญญาความรู้เพิ่มพูนมากขึ้น รวมทั้งการอยู่ร่วมกันของผู้คนหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาทางการเกษตรแบบใหม่ ซึ่งทำให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมต่าง ๆ อีกทั้งอาชีพใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเกิดขึ้นของรูปแบบการปกครองที่เป็นระบบ จึงเรียกว่า ยุคของอู่อารยธรรม

อารยธรรมเริ่มแรกของมวลมนุษย์ปรากฏอยู่ 4 อารยธรรมใหญ่ ดังนี้

1.อารยธรรมอียีปต์    บริเวณลุ่มน้ำไนล์

2.อารยธรรมเมโสโปเตมีย  บริเวณลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส

3.อารยธรรมอินเดีย บริเวณลุ่มน้ำสินธุ

4.อารยธรรมจีน    บริเวณล่มน้ำฮวงโห

 ซึ่งในยุคนี้มีความสำคัญดังนี้

-    การสร้างระบบชลประทาน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของการเกษตร โดยการควบคุมและจัดส่ง ผันน้ำ ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้น จนเกิดผลผลิตส่วนเกินที่เกินความต้องการขึ้นขึ้น

-ความซับซ้อนทางสังคม โดยเฉพาะระบบชนชั้น เนื่องการการอยู้รวมกันของคนหมู่มาก จึงมีการแบ่งชนชั้นเพื่อง่ายต่อการปกครอง เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ นักบวช พ่อค้า ช่างฝีมือ ชาวนา และทาส

-   การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และอาวูธที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย เช่น หอก ดาบ ขวาน มีด เคียว จากวัตถุดิบที่ทันสมัย เช่น เหล็ก เป็นต้น

-   รูปแบบการปกครองที่ชัดเจน โดยการปกครองที่มีผู้นำ หรือกลุ่มผู้นำ เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ  โดยการใช่กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตที่เป็นส่วนเกิน

- ศาสนาและความชื่อ ซึ่งมีการเกิดขึ้นของศาสนาและเทพเจ้าเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและการดำเนินชีวิต โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นรูปแบบพหุนิยม เช่น เทพเจ้า เร/รา  ซุส  เป็นต้น

-      การสร้างงานศิลปะ เช่นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตกรรม ซึ่งสร้างสรรค์อาชีพช่างฝีมือขึ้นจำนวนมาก อาทิ วิศวกร นักเขียน เป็นต้น ตลอดจนการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้

-    การค้าขาย เมื่อมีผลิตผลิตที่มากขึ้นและการขาดแคลนทรัพยกรที่จำเป็นมรการสร้างบ้านเมือง จึงต่องมีการติดต่อสัมพันธ์กันกับอารยธรรมอื่น ๆรอบข้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คน ส่งต่อ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ความคิด ซึ่งกันและกัน

     จึงทำให้ยคนี้ผู้คนมีการติดต่อสัมพันธ์และสร้าอารยธรรมให้เจริญรุ่งเรื่องตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และการปกครอง มากกว่ายุคหินใหม่และหินเก่า

 

        จะเห็นได้ว่า การที่มนุษย์เปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่ซึ่งไม่จำเป็นต้องเร่ร่อน แต่เป็นการตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่ ตั้งบ้านเรือน เลี้ยงสัตว์ ทำเกษตรกรรม กักเก็บเสบียงอาหาร ประกอบการพัฒนาด้านเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความเจริญสูงสุดในยุคหินไปจนการค้นพบแร่ต่าง ๆ อาทิ ทองแดง สำริด เหล็ก ซึ่งเป็นตัวช่วยให้มนุษย์เข้าสู่โลหะ จึงมีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและมีประสิทธิภาพมาขึ้น นำไปสู่การผลิตอาวุธ และสินค้าต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ในยุคหินใหม่และยุคโลหะจึงมีการรวมกลุ่มการอยู่อาศัยของผู้คนจำนวนมากและหลากหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการก่อสร้างอารยธรรม วัฒนธรรม การปกครอง ในขณะที่ กลุ่มคนหลากหลายกลุ่มต่างมีการสร้างอรายธรรมและพัฒนาต่อเนื่องเรื่อย ๆ  การติดต่อสัมพันธ์รหว่างกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการค้า การสงครามขยายอาณาเขต แสวงหาทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ในขณะที่การเว้นว่างจากการทำงาน และการเดินทางในแบเก่า ทำให้เกิดการขยายเผ่าพันธุ์กลายเป็นสัคม ตลอดจนการสร้างสรรค์ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญยาและความรู้ ตลอดจนตัวบทกฎหมายเพื่อควบคุมผู้คนจำนวนมากให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข รวมทั้งการกำหนดบทบาทจารีตหน้าที่ของผู้คนแต่ละคนในสังคม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์อารยธรรมของมวลมนุษย์


 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น