หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเตรียมตัวของมัคคุเทศก์

 

ที่มา:https://e-training.tpqi.go.th/courses/46/info


มัคคุเทศก์ คือหัวใจหลักของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้ที่ดูเเละเเละจัดการกับระบบตลอดทั้งการเดินทางท่องเที่ยว จึงทำให้มัคคุเทศก์จะต้องมีเทคนิควิธีการ เเละการเตรียมตัวสำหรับการเดินทางในเเต่ละครั้ง ภายใต้ความเเตกต่างหลาดหลาย ทั้งทางสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมัคคุเทศก์จำเป้นจะต้องมีไหวพริบ ความละเอียดรอบคอบ และการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้


1. เตรียมเอกสาร


ที่มา:https://thestandard.co/six-month-validity-passport-rule/


มัคคุเทศก์จะต้องมีละเอียดรอบคอบ เช่น ตรวจเอกสารทั้งหมด รายการนำเที่ยว สำเนาจดหมายติดต่อ บัตรเข้าชมสถานที่ ใบจองและเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง และระบุในใบงาน ตลอดจนตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ สัญชาติ วันเกิด อาชีพ และข้อมูลที่เป็นสำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่นคนนี้แพ้อาหารทะเล คนนี้ทานอาหารเจ เป็นต้น สัญญาเช่าใบจองใบมัดจำต่างๆ ของโรงแรมและสถานประกอบการอื่นๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยและเเก้ไขให้ทันหากเกิดปัญหาขึ้น



2.เตรียมอุกรณ์


ที่มา:https://th.lovepik.com/image-501413894/

      มัคคุเทศจะต้องจัดเตรียมป้าย หรือจัดทำสัญลักษณ์เครื่องหมายของบริษัทนำเที่ยว อาจเป็นป้ายบริษัทหรือป้ายที่มีรายชื่อนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการต้อนรับและแสดงให้นักท่องเที่ยวเห็น นามบัตรบริษัท เพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยว  บัตรติดกระเป๋าเดินทางโดยเขียนชื่อ สกุล รายการทัวร์ติดกระเป๋า อีกทั้ง สำเนาใบประกอบการของบริษัทกรณีตำรวจท่องเที่ยวขอตรวจ   ป้ายชื่อบริษัท สำหรับติดหน้ารถ หลังรถเพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจำได้ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย โดยการเตรียมกล่องปฐมพยาบาล เพื่อช่วยเหลือยามจำเป็น รวมทั้งอุปกรณือำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ กระติ๊กน้ำ แก้วน้ำ เครื่องดื่ม ถุงขยะ กระดาษชำระ ทรโข่ง ลำโพง ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์สันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นขนม ของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ  เพื่อเป็นการผ่อนคลาย สร้างความสนุนสนาน และทำความรู้จักกันมากขึ้นระหว่างเดินทาง 



3.เตรียมข้อมูล


ที่มา:https://sites.google.com/site/kantidamaneerat14574/


มัคคุเทศก์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จะแวะเยี่ยมชมไม่ว่าจะเป็นทางด้านประวัติศาสตร์ เกร็ดความรู้ ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมวิถีการดำรงชีวิต จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ ตลอดจนจังหวัดหรือเมืองที่ผ่าน รวมไปถึงประชากร อาชีพ การคมนาคม ภูมิประเทศ รวมทั้งศึกษารายละเอียดของโปรแกรมท่องเที่ยวให้เข้าใจ ศึกษารายการนำเที่ยว กำหนดการว่ามีกี่วัน  และพักกี่จังหวัด พักที่ไหน ต้องผ่านเมืองอะไรบ้าง แวะที่จุดไหน ผ่านเส้นทางใดบ้าง  ร้านอาหารที่จะไปรับประทานมีชื่อเสียงด้านใด ใช้ยานพาหนะอะไรบ้างในการเดินทาง การเดินทางแต่ละจุดห่างกันแค่ไหน ใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้จัดกิจกรรมบนรถ อีกทั้งารติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองอุทยานเเห่งชาติ กรมป่าไม้  ที่พัก กรมศิลปากร กรมทางหลวง ตำราวจทางหลวง ซึ่งมีความเเตกต่างกันออกไปในเเต่ละสถานที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


4.เตรียมความพร้อมของตนเอง


ที่มา:https://www.scholarship.in.th/part-time-job-practice-english/

มัคคุเทศก์คือบุคคลที่สำคัญในการเดินทาง เนื่องจากเป็นผู้จัดการระบบทั้งหมดตลอดการท่องเที่ยว นอกจากการเตรียมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเเล้ว สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมัคคุเทศก์ป่วยกระทันหันก็จะทำให้การท่องเที่ยวมีปัญหาได้ ซึ่งจะไม่เป็นผลต่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว ภาพลักษณืและความเสียหายของบริษัท ฉะนั่น มัคคุเทศก์จำเป็นต้องดูเเลสุขภาพของตัวเองให้ดี เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ เตรียมยาประจำตัว ตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้มัคคุเทศก์จะต้องเตรียม ของใช้และเอกสารส่วนตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่อการเดินทางและจะทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีความสุข



มักคุเทศก์คือผู้ควบคุมการเดินทางตลอดการท่องเที่ยว ฉะนั่นจะต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้รอบด้านเสมอ ตลอดจนศึกษารูปแบบกิจการของบริษัท อีกทั้งจะต้องเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง ซึ่งมัคคุเทศก์จะต้องมีความเข้าใจถ่องแท้และเเม่นยำในข้อมูลและแผนการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท รวมทั้งนโยบายของบริษัทกรณีเกิดปัญหา ทั้งนี้มัคคุเทกศก์จะต้องมีความมั่นใจในประสบการณ์ของตนเองเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักคุเทศก์จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการนำเที่ยวทุกครั้ง






อ้างอิง

วิชาชีพของมัคคุเทศก์เพื่อเข้าสู่มัคคุเทศก์อาเซียน.วิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563. จากhttp://www.elfhs.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/440/block




วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ท่องเที่ยว อุโมงค์กู๋จี ตามรอยวิถีแห่งสงคราม

 

ที่มา:https://www.pbs.org/wgbh/americanexperience/collections/vietnam-war/


           การท่องเที่ยวประเทศเวียดนามในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งสร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศ โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ อาทิ พระราชวังเว้ อ่าวฮาลอง เมืองฮอยอัน ชายหาดญาจาง ปราสาทหทีเซิน เป็นต้น ล้วนเเล้วเเต่เป็นการสะท้อนถึงความงดงามทางธรรมชาติ ศิลปะ และวัฒนธรรม ที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างงดงามจากฝีมือของบรรพบุรุษ เเต่ในขณะเดียวกันประเทศเวียดนามต้องผ่านความวุ่นวาย และความขัดเเย้ง จนกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ของประเทศ  ที่สร้างทั้งความภาคภูมิใจแห่งชัยชนะและคร่าชีวิตชาวเวียดนามไปมากเช่นกัน วันนี้จะพาทุกท่านไปเรียรู้ประวัติศาสตร์ ชมอนุสรณ์สถานของสงครามเวียดนามกับ " อุโมงค์กู๋จี " ตามรอยวิถีแห่งสงคราม

ที่มา:https://pickyourtrail.com/blog/cu-chi-tunnels/

  อุโมงค์กู๋จี ตั้งอยู่อำเภอกู่จี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโฮจิมินห์ ประมาณ 40 กิโลเมตร ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม โดยสถานที่แห่งนี้ คือ ที่มั่นหลักทหารเวียดกง  ใช้เป็นที่หลบภัยจากระเบิด และเป็นที่สำหรับประชุมของกองกำลังในสมัยที่รบกับสหรัฐอเมริกา ส่วนภายในของอุโมงค์ประกอบไปด้วยโรงพยาบาล ห้องประชุม และห้องพัก


ที่มา:https://sites.google.com/site/social077/

ประวัติศาสตร์

สงครามเวียดนาม เกิดขึ้นในปี 2498 - 2518  เป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่สองและเป็นการต่อสู้ระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกจากเวียดนาม ชาวเวียดนามเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามต่อต้านอเมริกา หรือ สงครามอเมริกา เป็นการต่อสู้ภายใต้ความเเตกต่างทางอุดมการณ์ระหว่างโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและโลกคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียด บนดินเเผ่นดินเวียดนามตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ได้สร้างร่องเเห่งความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตกว่า 2,058,000 คน ไม่ว่าจะเป็นทหาร พลเรือน   โดยกองกำลังเวียดนามเหนือ หรือที่เรียกว่า กองทหารเวียดมิญ ผสม กับกองกำลังเวียดนามใต้ หรือที่เรียกกันว่า ทหารเวียดกง ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านรัฐบาลเวียดนามใต้เเละทหารสหรัฐอเมริกา ด้วยยุธวิธีเเบบกองโจรจนได้ผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ก่อนกองทัพเวียดนามเหนือก็เข้ายึดเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้สำเร็จ จึงทำให้สงครามเวียดนามที่ดำเนินมาอย่างยาวนานเป็นอันสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือและได้ทำการรวมประเทศเวียดนามกลับมาดังเดิมอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ที่มา:https://www.facebook.com/306137976179096/posts/584833101642914/

อุโมงค์กู๋จี 

ถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายปี 1940 ในช่วงสงครามกับฝรั่งเศส การขุดเจาะอุโมงค์ถูกนำมาสำหรับการสื่อสารระหว่างหมู่บ้านและจะหลบเลี่ยงกองทัพของฝรั่งเศสในพื้นที่ งถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างมากและคนในพื้นที่อำเภอกู๋จี และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพเวียตกง

อุโมงค์ลับจะต่อระหว่างหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน และยังผ่านไปใต้ฐานทัพของอเมริกันอีกด้วย ไม่เป็นเพียงป้อมปราการสำหรับกำลังกองเวียตกง แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของชีวิตชุมชนซึ่งซ่อนอยู่ใต้หมู่บ้านที่ถูกทำลาย เป็นโรงเรียนใต้ดินและพื้นที่สาธารณะที่คู่แต่งงานและสถานที่ส่วนตัวที่คนรักพบกัน มีโรงภาพยนตร์ รวมทั้งแหล่งความบันเทิงด้วยเสียงเพลงและการเต้นรำ คลังเสบียง และคลังอาวุธ


ที่มา:https://pantip.com/topic/30744653

อุโมงกู๋จี มีความยาวถึง 250 กิโลเมตร ทั่วเมืองไซ่งอน(โฮจิมินห์) ลึกลงไปใต้ดินถึง 4 ระดับ ตั้งเเต่ 3  6  10 และ 15 เมตร ตามลำดับ  แต่ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมคือที่ระดับตื้นสุดที่ 3 เมตรจากผิวดิน เปิดให้ชมเพียง 120 เมตรเท่านั้น พร้อมทางออกทุกๆ 20 เมตร   ทหารเวียดกงใช้เป็นสมรภูมิรบแบบกองโจร ซึ่งเมืองใต้ดินแห่งนี้ มีทั้งโรงพยาบาท, ที่เก็บอาวุธ, ห้องประชุม, โรงครัว และมีทหารประจำการอยู่ที่นี้หลายหมื่นคน

นอกจากนี้ยังมียังส่วนแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุโมงค์ ทั้งหนทางจัดการกับดินที่ขุดออกมาจากอุโมงค์ วิธีการระบายอากาศ กับดักศัตรู ทางเข้าลับ วิธีสร้างอาวุธ ฯลฯ อีกทั้งยังคงเหลือซากแห่งสงคราม อาทิ รถถัง เครื่องบิน วัตถุระเบิด และหลุมระเบิดขนาดใหญ่ 

ที่มา:https://pantip.com/topic/31857380

ซากรถถังสหรัฐอเมริกา

ที่มา:https://pantip.com/topic/30744653

รูหายใจ ลักษณะคล้ายจอมปลวก เพื่อพรางตาทหารสหรัฐ

 

Handycrafted 

ซึ่งเป็นศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าจากผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม

ที่มา:https://pantip.com/topic/39320488

อัตราค่าเข้าชม

ซื้อจากบริษัททัวร์ที่ถนน Pham Ngu Lao ในเมืองโฮจิมินห์  ราคาคนละ 80,000 ดง หรือ 130 บาท 

ค่าเข้าชมคนละ 110,000 ดอง (151 บาท)



จะเห็นได้ว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นเรื่องราวหลายหลายแง่มุมทั้งความสุข ความทุกข์ ความสูญเสีย อันการย้ำเตือนถึงความโหดร้ายของสงคราม ในขณะเดียวกันยังได้เรียนรู้ถึงการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของผู้คน ภูมิปัญา ความคิด ความร่วมมือร่วมใจ จนสามารถผ่านอุปสรรค์ต่างๆมาได้  อย่างเช่น อุโมงค์กู๋จี เเห่งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ และเอาชีวิตรอดของคนเวียดนาม ฉะนั่น ผมจึงอยาเชิญชวนทุกๆท่านได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งสงครามนี้ เเละเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ ตลอดจนความโหดร้าย ความทุกข์ยากลำบาก จากผลพวงของสงคราม และตระหนักว่าสงครามไม่เคยส่งผลดีต่อใคร ความเอื้อเพื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะสร้างสันติสุขได้อย่างเเท้จริง






อ้างอิง


วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคไกด์ เที่ยวไทยสบาย

    

ที่มา:https://sites.google.com/site/fhdfh656/thraphyakr-thxng-theiyw-tourism-resources

    การท่องเที่ยวถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อประเทศไทย ซึ่่งสร้างรายได้จำนวนมหาศาล โดยการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ รวมทั้งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมอันสวยงาม ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรม วัด วัง อาคาร บ้านเรือน ตลอดจนวิถีชีวิต และธรรมชาติ โดยที่การท่องเที่ยวได้สร้างระะบบการจัดการขึ้นประกอบด้วยหลากหลายส่วนมีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะ มัคคุเทศก์

    

ที่มา:https://www.shutterstock.com/th/image-vector/tourists-guide-vector-illustration-188038091

    มัคคุเทศก์นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยว เปรียบเสมือนทูตวัฒนธรรม มีหน้าที่คอยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวเข้าใจ และเข้าถึงซึ่งคุณค่า ความงดงามของสถานที่นั้น ๆ ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกฝน เรียนรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ มีการจัดการที่เป็นระบบ มีไหวพริบในการให้ความรู้ที่แตกต่างหลากหลายในแต่ละกลุ่ม อาทิ คนต่างชาติ  ตลอดจนความรักและสนใจในอาชีพนี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้น มัคคุเทศก์จึงต้องมีเทคนิคสำคัญในการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว


กระบวนนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ เเบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้

1.กระบวนการทำงาน

การเกริ่นนำและให้ข้อมูลภาพรวมของสถานที่ ชี้แจ้งเนื้อหา และให้ข้อมูลรายละเอียดกับสถานที่ กฎเกณฑ์ข้องบังคับ การแต่งกาย ถ่ายภาพ ความปลอดภัย รวมทั้งการบอกภาพรวมโปรแกรม จุดนักพบกรณีที่มีการพลัดหล ของนักท่องเที่ยว  

2.เนื้อหาสถานที่

 สถานที่ในแต่ละจุดจะต้องพูดในสิ่งที่จำเป็น ควรจะเป็นเนื้อหาที่ครอบคลุม ประวัติ ผู้สร้าง สถานที่ ความสำคัญ  จุดเด่น และ รายละเอีดน่าสนใจ โดยการวิเคราะห์ความสนใจของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก อาจจะมีการเสริมเนื้อหาเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้น่าสนใจมากขึ้น

3.เทคนิคการนำชมแลการพูด

มัคคุเทศต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจ รอยยิ้ม และเลือกจุดนำชมที่เหมาะสม เป็นที่สามารเห็นได้ชัดเจน โดยไม่รบกวนผู้อื่น อากาศถ่ายเทสะดวก และมีร่มเงา ซึ่งมัคคุเทศก์จะต้องมีการใช้นำเสียงชัดเจน มั่นใจ สูง ต่ำ ตลอดจนรอยยิ้ม รวมทั้งกริยาท่าทางประกอบ ตลอดจนการตั้งคำถามและตอบคำถาม ชัดเจน กระชับ สั้นเข้าใจง่าย บางครั้งมีการใช้ลักษณะแทนวัตถุ เช่น สี  ลักษณะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งมัคคุเทศก์ จะต้องกำหนดจุดนัดพบและระยะเวลาให้ชัดเจน



ข้อควรปฎิบัติของมัคคุเทศก์

  • จะต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมอากาศปลอดโปร่ง และเหมาะสมในการพักผ่อน เช่น ร่มไม้ ศาลา เป็นต้น ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ กำหนดข้อตกลง แนะนำวิธีปฏิบัติ  ส่วนการอธิบายควรยืนในตำแหน่งที่พอดี เพื่อที่ลูกทัวร์จะสามารถมองเห็นได้ในทุกสิ่งที่นำเสนอ  อีกทั้ง หันหน้าเข้าหาลูกทัวร์ ไม่ควรยืนบังสิ่งที่จะนำเสนอ โดยยืนเฉียงประมาณ 45 องศา เพื่อให้เห็นทั้งลูกทัวร์และสิ่งที่นำเสนอ การยืนใกล้ชิดกับวัตถุ จะทำให้ลูกทัวร์สนใจสิ่งนั้นมากขึ้น 

  • มัคคุเทศก์จะต้องอธิบายภาพรวมให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ ให้ข้อมูลเบื้อต้นเกี่ยวกับสถานที่ รวมทั้งการบอกวัฒนธรรมประเพณี ข้อปฎิบัติ ข้อบังคับ  เช่น ถอดหมวก ถอดรองเท้า  ข้ามธรณีประตู  การถ่ายภาพในที่ห้ามถ่าย  อีทั้งการเข้าห้องน้ำ  การแยกตัวของลูกทัวร์ในการเข้าชม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งการกำนดเส้นทางจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเข้าชม ตลอดจนกำหนดสถานที่จุดนัดพบกรณีที่มีการผลัดหลง จุดนัดพบหลังจากการเยี่ยมชมและระยะเวลาควรบอกให้ชัดเจน

  • มัคคุเทศก์จะต้องมีความมั่นใจ มีทักษะในการพูด เช่น น้ำเสียงหนักเบา สายตามุ่งมั่น ถ่ายทอดอารมณ์ และมีรอยยิ้มเสมอ อีกทั้งจะต้องมีการเชื่่อมข้อมูลไปยังวัตถุต่อไป ตลอดจนการใช้กิริยาท่าทางประกอบ เพื่อให้ได้อรรถรสและความน่าสนใจให้กับลูกทัวร์

  • การอธิบายขยายความให้นักท่องเที่ยวชม  ควรใช้คำศัพท์เพื่อให้ความรู้และอธิบายคำศัพท์เพิ่มต้อม อีกทั้งยังให้ความรู้ลายระเอียดในการอธิบายศิลปะสถาปัตยกรรม เช่น หน้าบัน หลังคา ปูนปั้น ต่าง ๆ ตลอดจนเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจมากขึ้น  รวมถึงการเชื่อมข้อมูลให้ลื่นไหลไม่ติดขัด

  •  ควรเตือนลูกทัวร์ในทุกการเดินทาง เพื่อระมัดระวังอุบัติเหตุ เช่นทางลาด โดยจะต้องให้ความสนใจกับลูกทัวร์ไม่ให้คาดสายตาในทุกพื้นที่

 

    จะเห็นได้ว่ามัคคุเทศก์ไม่ได้มีหน้าที่เพียงจดจำข้อมูลสถานที่และพากย์ทัวร์เท่านั้น เเต่ยังมีหน้าหลากหลายในการควบคุมดูและเเละจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยเเละความเรียบร้อยให้แกนักท่องเที่ยวทุกคน ตลอดจนการมีบุคลิกและปฎิสัมพันธ์ รอยยิ้มความจริงใจ และความมั่นใจ ในฐานะด่านหน้าทางการต้อนรับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ฉะนั่นหน้าที่ของมัคคุเทศก์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากและเทคนิคการปฎิบัติของมัคคุเทศก์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจและมีความสุข รวมทั้งได้ความรู้ ความเข้าใจและความปลอดภัย ซึ่งเป็นการส่งเสริมเเละสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย







เทคโนโลยีทางการท่องเที่ยว

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เปลี่ยนผ่านตามกาลเวลา

         

     
ที่มา:http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter01/Agri_01.htm


       หากการเกิดมาของมนุษย์ทุกคนในโลก ต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คงไม่ต่างจากบรรพบุรุษของเราซึ่งใช้เวลายาวนานในการสร้าสรรค์สังคมและอารยธรรม ผ่านการเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ นานา ก่อกำเนิด ชุมชน บ้านเมือง อาณาจักน้อยใหญ่ตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ทั่วทุกทวีป จนกลายมาเป็นอารยธรรมเริ่มต้นของมวลมนุษย์ การสร้างวัฒนธรรม การติดต่อสัมพันธ์ เคลื่อนย้ายและถ่ายทอดภูมิปัญญาซึ่งกันและกันตลอดมา การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษย์โลกแบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ ๆ ดังนี้



1.Paleolithic Era (ยุคหินเก่า)


ที่มา:http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-culture/page1.htm

 ยุคหินเก่าเป็นยุคที่มีการเริ่มประดิษฐ์คิดค้นเมืองเมืองเครื่องใช้ขึ้นครั้งแรก แต่คงอาศัยตามธรรมชาติเป็นหลัก พึ่งพาธรรมชาติและสัตว์ป่า ในขณะที่ความซับซ้อนทางสังคมยังไม่มากนักและเทคโนโลยียังไม่หลากหลาย ทั้งนี้ก็เพื่อการอำนวยความสะดวกตามการใช้งานเท่านั้น เช่น การตัด การทบ เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณืที่บ่งบอกถึงมนุษย์ยุคหินเก่าดังนี้

-  การดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า หรือใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน

- อาศัยอยู่ตามเพิงผาและถ้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่าและป้องกันลมฝน

-มีการผลิตเครื่องเมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกโดยจะเป็นการกะเทาะหิน ซึ่งมีลักษณะหยาบและใหญ่ ไม่เหมือนในยุคอื่น ๆ

-เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานศิลปะ โดยการเขียนถ้ำ เช่นรูปสัตว์ รูปคน  เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างง ๆ และการสร้างประติมากกรมรูปเคารพขนาดเล็ก

-เป็นเริ่มต้นของพิธีกรรมและความเชื่อ ในการฝังศพและความเชื่อเรื่องโลกหน้า ซึ่งมีการฝั่งสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายด้วย

 

2.Nelithic Era (ยุคหินใหม่)

ที่มา:https://artinhistory0.blogspot.com/2019/04/neolithic.html

ในขณะที่ยุคหินใหม่มีความคาบเกี่ยวกับยุคหินเก่าและยุคเริ่มต้นอารยธรรมโดยการพัฒนาจากยุคหินเก่าและส่งต่อไปยังยุคต่อไป ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษย์ หรือเรียกว่าคลื่นลูกที่1 โดยการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมเกษตรและเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

  สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงและเอกลักษณ์ของยุคนี้ได้ดังนี้

-การลงหลักปักฐาน สร้างชุมชน แทนการเร่รอน โดยการสร้างบริเวณลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อสะดวกในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก

- เริ่มการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการล่าสัตว์ หาของป่าโดยการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง นำพืชป่ามาปลูก เช่น  วัว ควาย หมู ข้าว ถั่ว เป็นต้น เพื่อเป็นการผลิตอาหารแบบถาวร

-การผลิตเครื่องมื้อเครื่องใช้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ  ความสวยงามมากขึ้น อาทิ เครื่องมือหินขัด ขวานหินขัด หม้อ ไถ กี่ท่อผ้าเป็นต้น รวมทั้งการผลิตอาวุธต่าง ๆ

-ริ่มการสร้างสรรค์รูปบบงานศิลปะ เช่น ลายหม้อ เครื่องประดับ   

 

3.The First Cities and Civilization (ยุคเริ่มต้นอารยธรรม)

ที่มา:https://www.socialhizo.com/historia/edad-antigua/la-india-de-la-civilizacion-del-indo-al-periodo-vedico

หลังจากการพัฒนาสูงสุดในยุคหินแล้ว ภูมิปัญญาความรู้เพิ่มพูนมากขึ้น รวมทั้งการอยู่ร่วมกันของผู้คนหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาทางการเกษตรแบบใหม่ ซึ่งทำให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมต่าง ๆ อีกทั้งอาชีพใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเกิดขึ้นของรูปแบบการปกครองที่เป็นระบบ จึงเรียกว่า ยุคของอู่อารยธรรม

อารยธรรมเริ่มแรกของมวลมนุษย์ปรากฏอยู่ 4 อารยธรรมใหญ่ ดังนี้

1.อารยธรรมอียีปต์    บริเวณลุ่มน้ำไนล์

2.อารยธรรมเมโสโปเตมีย  บริเวณลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส

3.อารยธรรมอินเดีย บริเวณลุ่มน้ำสินธุ

4.อารยธรรมจีน    บริเวณล่มน้ำฮวงโห

 ซึ่งในยุคนี้มีความสำคัญดังนี้

-    การสร้างระบบชลประทาน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของการเกษตร โดยการควบคุมและจัดส่ง ผันน้ำ ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้น จนเกิดผลผลิตส่วนเกินที่เกินความต้องการขึ้นขึ้น

-ความซับซ้อนทางสังคม โดยเฉพาะระบบชนชั้น เนื่องการการอยู้รวมกันของคนหมู่มาก จึงมีการแบ่งชนชั้นเพื่อง่ายต่อการปกครอง เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ นักบวช พ่อค้า ช่างฝีมือ ชาวนา และทาส

-   การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และอาวูธที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย เช่น หอก ดาบ ขวาน มีด เคียว จากวัตถุดิบที่ทันสมัย เช่น เหล็ก เป็นต้น

-   รูปแบบการปกครองที่ชัดเจน โดยการปกครองที่มีผู้นำ หรือกลุ่มผู้นำ เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ  โดยการใช่กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตที่เป็นส่วนเกิน

- ศาสนาและความชื่อ ซึ่งมีการเกิดขึ้นของศาสนาและเทพเจ้าเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและการดำเนินชีวิต โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นรูปแบบพหุนิยม เช่น เทพเจ้า เร/รา  ซุส  เป็นต้น

-      การสร้างงานศิลปะ เช่นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตกรรม ซึ่งสร้างสรรค์อาชีพช่างฝีมือขึ้นจำนวนมาก อาทิ วิศวกร นักเขียน เป็นต้น ตลอดจนการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้

-    การค้าขาย เมื่อมีผลิตผลิตที่มากขึ้นและการขาดแคลนทรัพยกรที่จำเป็นมรการสร้างบ้านเมือง จึงต่องมีการติดต่อสัมพันธ์กันกับอารยธรรมอื่น ๆรอบข้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คน ส่งต่อ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ความคิด ซึ่งกันและกัน

     จึงทำให้ยคนี้ผู้คนมีการติดต่อสัมพันธ์และสร้าอารยธรรมให้เจริญรุ่งเรื่องตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และการปกครอง มากกว่ายุคหินใหม่และหินเก่า

 

        จะเห็นได้ว่า การที่มนุษย์เปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่ซึ่งไม่จำเป็นต้องเร่ร่อน แต่เป็นการตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่ ตั้งบ้านเรือน เลี้ยงสัตว์ ทำเกษตรกรรม กักเก็บเสบียงอาหาร ประกอบการพัฒนาด้านเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความเจริญสูงสุดในยุคหินไปจนการค้นพบแร่ต่าง ๆ อาทิ ทองแดง สำริด เหล็ก ซึ่งเป็นตัวช่วยให้มนุษย์เข้าสู่โลหะ จึงมีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและมีประสิทธิภาพมาขึ้น นำไปสู่การผลิตอาวุธ และสินค้าต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ในยุคหินใหม่และยุคโลหะจึงมีการรวมกลุ่มการอยู่อาศัยของผู้คนจำนวนมากและหลากหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการก่อสร้างอารยธรรม วัฒนธรรม การปกครอง ในขณะที่ กลุ่มคนหลากหลายกลุ่มต่างมีการสร้างอรายธรรมและพัฒนาต่อเนื่องเรื่อย ๆ  การติดต่อสัมพันธ์รหว่างกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการค้า การสงครามขยายอาณาเขต แสวงหาทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ในขณะที่การเว้นว่างจากการทำงาน และการเดินทางในแบเก่า ทำให้เกิดการขยายเผ่าพันธุ์กลายเป็นสัคม ตลอดจนการสร้างสรรค์ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญยาและความรู้ ตลอดจนตัวบทกฎหมายเพื่อควบคุมผู้คนจำนวนมากให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข รวมทั้งการกำหนดบทบาทจารีตหน้าที่ของผู้คนแต่ละคนในสังคม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์อารยธรรมของมวลมนุษย์


 

 


วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บรรพบุรุษ-มนุษย์ของโลก

    

     

 

ที่มา:https://nawin648797431.wordpress.com/2019/02/27/การกำเนิดมนุษย์/


        มนุษย์ในปัจจุบันมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้ง เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ล้วนเเล้วเเต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายใต้ความเเตกต่างเหล่านั้นมนุษย์กลับมีจุดกำเนิดจากบรรพบุรุษเดียวกันเดียวกัน จากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี อาทิ รอยเท้า เครื่องเมืองเครื่องใช้ และร่อยร่อยวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนการที่ไม่ของหยุดนิ่งของมนุษย์ อันเป็นต้นกำเนินที่สำคัญของมวลมนุษยชาติ

ที่มา:https://teen.mthai.com/variety/57963.html


      ในยุคที่สรรพสัตว์อาศัยร่วมกันในป่าทวีปแอฟริกา ได้เริ่มมีการพัฒนาการของมนุษย์เกิดขึ้นราว 5 ล้าน-200,000 ล้านปี โดยการเปลี่ยนแปลงตนเองจากการอาศัยบนต้นไม้ลงมาอยู่บนพื้นดิน จากการเดิน 4 ขา กลายมาเป็น 2 ขา และได้มีการพัฒนนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเเตกต่างจากสัตว์ชัดเจน จึงได้มีการแบ่งมนุษย์โบราณ เป็น 4 ดังนี้ 


 กลุ่มออสตราโลบิธิคัส(Australopithecine) 

ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/931397/


เป็นกลุ่มเเรก ๆ ที่มีพัฒนาการมาจากสัตว์   โดยการเดิน ขา มีอายุราว 4-5 ล้านปี  ยังปราศจากวัฒนธรรมต่างๆ 


กลุ่มโฮโมแฮบิลิส(Homo Habilis) 

ที่มา:https://ro.pinterest.com/pin/505529126906308457/

 เริ่มมีการพัฒนามาขึ้นโดยเฉพาะการรุ้จักใช้เครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีลักษณะหยาบๆ และมีสมองที่ใหญ่ขึ้น


กลุ่มโฮโม อีเร็กตัส(Homo Erectus)  

ที่มา:https://www.bbc.com/news/science-environment-50827603

    เริ่มมีการอพยพกระจายตัวไปยังที่ต่าง ๆ และมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ละเอียด และกะทัดรัดมากขึ้น โดยเฉพาะการเริ่มใช้ไฟจากธรรมชาติครั้งแรก


กลุ่มโฮโมเซเปียน (Homo Sapiens )

ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/946355/view/homo-sapiens-idaltu-male-illustration

เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการมากที่สุดทั้งรูปร่างและวัฒนธรรม โดยการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่หลากหลายและการรู้จักผลิตไฟขึ้นมาใช้เอง รวมทังการอพพยพกระจายตัวไปยังที่ต่างๆทั่วทุกทวีป ในขณะที่สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้หัวกระโหลกมีขนาดใหญ่และใกล้เคียงกับมนุษย์ในปัจจุบัน



การปรากฎมนุษย์ในทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชียเป็นทวีปเชื่อกับทวีปแอฟริกา จึงปรากฎร่องรอยของมนุษย์ที่อพยพเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ โดยเป็นมนุษย์มนุษย์โฮโม อีเร็กตัส ปรากฏ 2 กลุ่มใหญ่ คือ มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งมีการค้นพบ ฟัน แผ่นกะโหลก กระดูดหน้าแข้งของมนุษย์ชวา(Java Man) บริเวญแม่น้ำโซโล ในหมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียในปี 1891-1892 ก่อนจะมีการค้นพบมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในปี 1923 ใกล้บริเวณหมู่บ้านโซโกเดียน มลฑลปักกิ่ง ประเทศจีน

  

การปรับตัวของมนุษย์ในยุคหิน


ที่มา:https://www.sciencephoto.com/media/931397/view/australopithecine-lucy-illustration

การปรับตัวของมนุษย์ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่มีความแตกต่างกันหลายอย่าง แต่ก็เกิดจากการพัฒนาต่อเนื่องกัน โดยมนุษย์ในยุคหินเก่ายังคงมีการใช้ชีวิตกับธรรมชาติเป็นหลักโดยการเดินทางเร่รอน อาศัยตามเชิงผาและถ้ำ อีกทั้งยังมีการหาของป่าล่าสัตว์เพื่อดำรงชีวิต รวมทั้งการอยู่อาศัยในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ เครื่องมือหินกะเทาะ ไม่ว่าจะเป็น มีด ขวาน เพื่อสับและตัดเนื้อสัตว์  ซึ่งยังไม่มีการตกแต่งให้ละเอียดมากนักจึงยังเป็นเครื่องมือแบบหยาบ ๆ

   ในขณะที่มนุษย์ยุคหินใหม่มีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมวลมนุษย์ โดยการพัฒนาเกษตรกรรม เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่รอน หาของป่าและล่าสัตว์ เป็นการอยู่กับที่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน หม้อ ไห เสื้อผ้า ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ในขณะที่เครื่องมือเครืองใช้มีความสวยงามมากขึ้นกว่ายุคหินเก่า เกิดจากการขัดตกแตกให้สวยงาม กะทัดรัด หลากหลายและใช้งานง่ายขึ้น อาทิ ขวานหินขัด มีด เคียว สิ่ว เลื้อย ประกอบกับการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อเป็นอารและการกักเก็บเสบียงอาหาร ตลอดจนการใช้ภาษาและการติดต่อสื่อสาร 


    การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์มีความสำคัญเพื่อให้เห็นร่องรอยของบรรพบุรุษ พัฒนาการ การปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมในแต่ละยุคสมัยล้วนมีความเเตกแต่งกันไป และยังเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโยลีในปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงต่อ ๆ ไปในอนาคต ฉะนั่น ร่องรองของมนุษย์ในอดีตจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจุดกำเนิดเเละพัฒนการอย่างไม่เคยหยุดนิ่งของมวลมนุษย์