หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วัดองค์ตื้อมหาวิหาร

    


ที่มา:https://www.travel-pictures-gallery.com/laos/vientiane/vientiane-0025.html

      ประเทศลาวนับว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีอังงดงาม ภายใต้ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาที่หล่อหล่อมจิตใจ และศิลปะวัฒนธรรมของประชาชนชาวลาว สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมอันสวยงาม ดั่งเช่น พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ มีอายุกว่า 450 ปี นับว่าเป็นสิ่งศักดิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลาว ผ่านกาลเวลาเเละเหตุการณืต่าง ๆ มากมาย จนหลงเหลือเป็นมรดกล้ำค่าให้เราได้เห็นในปัจจุบัน



   วัดองค์ตื้อมหาวิหาร( ວັດອົງຕື້ ມະຫາວິຫານ )สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2109 หลังจากที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สร้างเมืองเวียงจันมาแล้ว 6 ปี เดิมวัดองค์ตื้อมีชื่อว่า "วัดสีภูมิ หรือ ไชยภูมิ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มาสร้างพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นแล้วนำมา ประดิษฐานไว้ในวัดสีภูมิแห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดองค์ตื้อ" ตามชื่อของพระพุทธรูปใหญ่  

ที่มา:https://www.touronthai.com/travelguide/placeinfo.php?id=43340


  ในปัจจุบันนี้วัดมี่พระอุโบสถใหญ่อยู่ 1 หลัง กว้าง 16 เมตร 34 เซนติเมตร ยาว 40 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร ประดับตกแต่งด้วยศิลปะเเบบล้านช้าง โดยมีหลังคาลดหลั่นซ้อนชั้นประดับด้วยหางหงส์ โหง่ และช่อฟ้า 9 ชั้น อันเป็นการเเสดงฐานะของวัดที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ หน้าบันตกเเต่ด้วยลวดลายไม้แกะสลักสวยงาม และรวงพึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศิลปะเเบบล้านช้าง ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน

  

ที่มา:https://www.blogger.com/blog/post/edit/

  พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ 

ที่มา:https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-Wat_Ong_Teu-Vientiane_Vientiane_Prefecture.html

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2109 โดย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ซึ่งสร้างจากทองเหลือง  มีน้ำหนัก1 ตื้อหรือเท่ากับ 1,000-1,200 กิโลกรัม มีหน้าตักกว้าง 3 เมตร 40 เซนติเมตร สูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังสร้างพร้อมด้วย พระสุก พระใส พระเสริม


ที่มา:https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g


วัดองค์ตื้อได้รับภัยจากสงครามถึง 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2127 ในรัชกาลของพระสุรินทลือไชย(จัน) พม่าเข้ามาตีนครหลวงเวียงจันทน์ได้สำเร็จพร้อมทั้งเผาทำลายวัดวาอาราม วัตถุมีค่า  รวมถึงวัดองค์ตื้อ

ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2322 ในรัชกาลพระเจ้าสิริบุยสาร สยามได้เข้ามารุกรานครั้งที่ 1

ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2370 ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับทำลายเผาผลาญนครหลวงเวียงจันทน์ จนเป็นเถ้าถ่านไปทั้งเมืองและวัดองค์ตื้อ พร้อมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้

ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2416 โจรฮ้อ ได้เข้ามาปล้นสะดมขุดค้นเอาวัตถุมีค่าไปจนหมดในนั้น รวมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อด้วย


วัดองค์ตื้อได้รับการบูรณะในปี พ.ศ.2454-2455  ในทุกส่วนของโบสถ์เช่น เสา ฝาผนัง หลังคาที่เราเห็นในปัจจุบัน คือเป็นการสร้างขึ้นใหม่โดยรักษาโครงสร้างเดิมไว้ทั้งหมด บานประตูทั้ง 3 บาน ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา นำมาถวายในปี พ.ศ.2509   ออกแบบรูปภาพโดย เจ้ามณีวงศ์ ขันติยะราช (ทิดตัน )สุวรรณภูมิ เป็นผู้แกะสลักลวดลายซึ่งเป็นช่างจากพระราชวังหลวงพะบาง



                          ที่มา:https://udon2laos.com/เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

นอกจากนี้ ทางด้านข้างพระอุโบสถ ได้จัดสร้างลานเสาอะโศกะจำลองขึ้นที่ลานข้างหอระฆัง มีการจัดสวนออกแบบสวยงาม กลายเป็นแลนด์มาร์คสำหรับถ่ายรูปเป็นที่ระลึกของนักท่องเที่ยวทั่วไป ยามมาเยือน

ที่ตั้ง:ตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา เเขวงเมืองเวียงจันทน์  อยู่ห่างจากหอพระแก้วมาทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร

อัตราค่าเข้าชม: สามารถเข้าชมได้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด

การเดินทาง:รถเเท๊กซี่ รถสามล้อ รถประจำทาง

เปิดให้บริการ: 8.00-17.00น.


ที่มา:https://udon2laos.com//เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

วัดองค์ตื้อเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวียงจันทน์ และมีชื่อเสียงมากที่สุด รวมทั้งเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน ผ่านภันสงครามและการทำลายล้างหลายครั้งหลายครา เเต่วัดก็ยังได้รับการบรูณะขึ้นมาใหม่ทุกครั้งด้วยเเรงศรัทธาของประชาชนชาวลาวที่มีต่อพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อันเป็นสิง่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเเละเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน ทำให้วัดองค์ตื้อถูกสร้างให้กลับมาสวยงามดังเดิม ตามรูปแบบศิลปะล้านช้างเเต่เดิมมา  ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์รูปแบบเฉพาะตัว ตกแต่งด้วยสีสันต์และลวดลายที่งดงามสมดังเป็นวัดคู่บ้านคูเมืองลาวอีกแห่งหนึ่งเเละยังเป็นมรดกอันลำค่าของชาวลาวอีกด้วย



อ้างอิง

Moonfleet Asia.(2560).Wat Ong Teu.สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563.จากhttp://moonfleetasia.blogspot.com/2017/07/13072560-wat-ong-teu-vientiane-laos.html

ม.ป.ต.(2557).วัด องตื้อมหาวิหาร เวียงจันทน์ สปป.ลาว.สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563.จาก https://udon2laos.com/เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

tripadvisor.(2561).วัดเก่าแก่ในเวียงจันทน์.สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จากhttps://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g293950-d8750559-i272521796-Wat_Ong_Teu-Vientiane_Vientiane_Prefecture.html

tripdeedee.(ม.ป.ป.). วัดองค์ตื้อวรวิหาร ในนครหลวงเวียงจันทน์.สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จาก https://www.tripdeedee.com/Laos/watongteu.php

นิววิว..(ม.ป.ป.).วัดองค์ตื้อมหาวิหาร (Wat Ong Teu)..สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จากhttp://www.newviewtour.com/แลนด์ทัวร์/แลนด์ทัวร์ต่างประเทศ/แลนด์ลาว/158-ข้อมูลทัวร์ต่างประเทศ-ประเทศลาว/สถานที่ท่องเที่ยว-ประเทศลาว/1344-วัดองค์ตื้อมหาวิหาร-ลาว.html

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ชเวนันดอว์ จากอดีตวังหลวงสู่วัดแห่งสถาปัตยกรรมสุดอลังการ

ที่มา:https://www.pinterest.com/pin/423831014908536957/?nic_v2=1a6C47usA

     

       ประเทศเมียนมาร์ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน อีกทั้งการสั่งสมศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตอันงดงาม ภายใต้เเรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมียนมาร์มาเป็นเวลาช้านาน เราจึงได้เห็นสถาปัตยกรรม วัด เจดีย์ พระพุทธรูปจำนวนมาก ต่างมีความสวยงามและเเปลกตาล้วยเเล้วเเต่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างประณีตจากฝีมือช่างพร้อมด้วยจิตศรัทธาในพระศาสนา ดังเช่น วัดชเวนันดอร์ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสวยงามด้วยการเเกะสลักไม้อันเป็นสุดยอดแห่งฝีมือ อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังยืดหยัดก้าวผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ เคียงคู่กับชาวเมียนมาร์  จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พร้อมด้วยความงดงามที่น่าตื่นตาตื่นใจ  


ที่มา:http://burma-travel.blogspot.com/2014/07/shwe-nandaw-kyaung.html


  วัดชเวนันดอว์  (Shwenandaw Kyaung หรือ Golden Palce Monestery) สร้างในปี 2400 โดยพระเจ้ามินดง ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ามินดง ตั้งอยู่ในพระราชวังมัณฑะเลย์ หลังจากที่พระองค์สวรรคตที่พระตำหนักหลังนี้ในปี 2421  พระเจ้าสีป่อ (ติบอ) พระราชโอรส ทรงโปรดให้รื้อนำไปถวายวัดที่อยู่ภายนอกพระราชวังในปี 2423 ตามที่พระเจ้ามินดงรับสั่งไว้ก่อนสวรรคต เรียกกันว่า วัดมณเฑียรทอง” หรือ ชเวนันดอว์จอง ซึ่ง พระเจ้าสีป่อทรงใช้อารามนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมส่วนพระองค์ ภายหลังจึงได้ถวายให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ และได้จัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี ไปเมื่อปี พ.ศ.2522


    วิหารแห่งนี้เป็นอาคารไม้แกะสลักจากไม้สักทองทั้งหลัง ลักษณะเป็นหลังคาทรงปราสาท 5 ชั้นซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างมัณฑะเลย์ ซึ่งคำว่า “ชเวนันดอว์” แปลว่า วิหารไม้สีทอง ในสมัยก่อนวิหารแห่งนี้เคยหุ้มด้วยทองประดับกระจกสีทั้งภายในและภายนอก แต่เวลานี้ทองได้หลุดลอกออกหมด แต่ยังเหลือให้เห็นอยู่บ้างจะเป็นบริเวณเพดานจากการปิดทองคำเปลวลงบนไม้ที่ได้สลักลวดลายสวยงามร่องไม้เป็นสีชาด (สีแดง)  ภายในวิหารมีพระประธานปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงตำแหน่งเดิมของพระราชบัลลังก์เดิม  เสาภายในวิหารมากมายหลายต้นเป็นไม้สักต้นเดียวสูงกว่า 10 เมตร  นอกจากนี้ฝาผนังยังสลักเรื่องราวพุทธชาดกประดับไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะทศชาติ 

ที่มา:http://www.namfapakhao.com/mandalay-bagan-inle/mandalay-024/


ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายพระราชวังจนราบคาบ เนื่องจากทหารญี่ปุ่นยึดพระราชวังมัณฑะเลย์เป็นค่ายทหาร ทำให้พระราชวัง พระที่หนัง พระตำหนักน้อยใหญ์ถูกไฟไหม้เสียห่ยจนหมดสิ้น  วิหารชเวนันดอว์จึงนับเป็นสิ่งก่อสร้างของพระราชวังมัณฑะเลย์ที่เหลือเพียงแห่งเดียว ที่พอจะให้เห็นความยิ่งใหญ่อลังการของพระราชวังมัณฑะเลย์ในยุคนั้น

ที่มา:https://www.jensen-giehler-fotografie.de/foto-galerie/unterwegs-auf-reisen/myanmar/

จุดเด่นของที่นี่คือ

    งานไม้แกะสลักที่สวยงาม ประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักที่เป็นรูปเทวดาต่างๆ วิจิตรงดงาม มีอายุมากกว่า100 ปี ความอลังการ ความงดงาม และความวิจิตรบรรจงของฝีมือช่างหลวง

อัตราค่าเข้าชม

คนละ 10,000 จัต  สามารใช้เป็นบัตรเข้าชมพระราชวังมัณฑะเลย์ได้อีก 

ข้อห้าม

  • ควรแต่งกายให็สุภาพเรียบร้อย
  • เมื่อขึ้นไปบนวิหารต้องถอดรองเท้าไว้ด้านล่าง


    วัดชเวนันดอว์นับว่าเป็นยอดแห่งศิลปะการเเกะสลักไม้ที่สวยงาม ยิ่งใหญ่ อลังการ ของงานช่างฝีมือของเมียนมาร์แสดงถึงความประณีตและความเอาใจใส่ ตลอดจนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความจงรักภักดีต่อองคืพระมหากษตริย์ เป็นการเเสดงให้เห็นถึงมรดกอันมีคุณค่าจากบรรพชนที่ส่งต่อมายังคนรุ่นหลังให้ได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์งานประณีตศิลป์และสืบสานความศรัทธาในบวรพุทธศาสนาสืบไป





อ้างอิง

Angel Star Travel.(2020).วัดชเวนันดอว์.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttps://www.angelstartravel.com/content-detail.php?data=ชเวนันดอว์.html



Tripadvisor.(2015).วิหารไม้สักทองชเวนันดอว์.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จาก https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g295408-d552343-i156939028-Shwenandaw_Monastery-Mandalay_Mandalay_Region.html

เที่ยวพม่า.(2013).วิหารชเวนันดอร์ หนึ่งเดียวที่เหลือลอด.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttp://burma-travel.blogspot.com/2014/07/shwe-nandaw-kyaung.html
 
Supawan.(2010).พระราชมณเฑียรทอง ชเวนันดอว์ … Golden Palace.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2010/09/13/entry-1

wonderfulpackage.(ม.ป.ป.).วัดเก่าโบราณ วิหารไม้สักทอง วัดชเวนันดอว์ แห่งพม่า.

สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จากhttps://www.wonderfulpackage.com/article/v/938/

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

วัดพระแก้วมรกตแห่งแผ่นดินกัมพูชา

     

ที่มา:http://markettourcenter.com/package_detail.php?pkno=4754&countryid=07251


      ประเทศกัมพูชานับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนชาวกัมพูชาให้ความเคารพและใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวมาช้านาน ศาสนาพุทธมีความสำคัญและผ่านช่วงเวลาเเห่งความวุ่นวายทางการเมืองเป็นเวลายาวนานเช่นกัน แต่เเรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ยังคงเเกร่งกล้าภายในจิตใจประชาชน จึงก่อเกิดงานศิลปะอันงดงามและความเชื่อความศรัทธาต่อองค์พระเเก้วมรกต อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธกัมพูชา " วัดอุโบสถรตนาราม "จึงเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินกัมพูชาตลอดมา

ที่มา:https://www.khaosod.co.th/lifestyle/travel/news_2364217


         วัดอุโบสถรตนาราม (เขมร: វត្តឧបោសថរតនារាម) เรียกสั้น ๆ ว่า " วัดพระแก้วมรกต " หรือ “ วิหารเงิน”  เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมราชวังราชวังจตุมุขมงคล พระราชวังหลวงของกรุงพนมเปญ ซึ่งมีสถานะเป็นวัดหลวง ใช้เป็นที่รักษาอุโบสถศีลในวันอุโบสถของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางประกอบพิธีต่างๆ ทางพุทธศาสนาและราชสำนัก จึงไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ซึ่งภายในวิหารยังปูพื้นด้วยแผ่นเงินกว่า5,392 แผ่น  แต่ละเเผ่นหนัก 1 กิโลกรัม อันเป็นที่มาของชื่อเรียกวิหารเงิน นั่นเอง

      วัดเเห่งนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร  ออกแบบโดยออกญาเทพนิมิต (รส) และสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อ Alavigne ช่วยดูแลความถูกต้องในการสร้าง อีกทั้งช่างเขมรเป็นผู้ก่อสร้างและประดับตกแต่ง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 – 2445 มูลค่าในการสร้างกว่า 500,000 เรียล เมื่อแล้วเสร็จจึงมีพิธีสมโภชในปี พ.ศ. 2446  ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระนโรดมสีหนุ จึงได้มีการบูรณะอีกครั้ง ในปี 2505 – 2513


ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/01/K10093804/K10093804.html

      พระวิหารพระแก้วมรกตถือเป็นอาคารหลักของวัด พระวิหารหลังนี้มีหลังคาเป็นทรงจตุรมุขซ้อนชั้นลดหลั่นกัน ประดับช่อฟ้า ใบระกา เเละหางหงส์  สอดรับกับเสาอาคารที่เป็นทรงกลม หน้าบันประดับศิลปะปูนปันลายสัญลักษณ์ราชวงศ์กัมพูชา 

ที่มา:https://www.facebook.com/442993079227558/photos/


   

 สิ่งสำคัญของวัดอุโบสถรตนาราม คือพระแก้วมรกต ประดิษฐานในบุษบกกลางอุโสถ หล่อขึ้นจากแก้วคริสตัลสีเขียวจากฝรั่งเศส  

“กลางพระอุโบสถ มีฐานชุกชีตั้งบุษบกรองพระแก้วที่ห้างปักกะราต์ฝรั่งเศส ข้อนี้ทราบมานานแล้ว มาได้ความรู้เพิ่มเติมเมื่อเห็นตัวจริงว่าตั้งใจจะจำลองให้เหมือนพระแก้วมรกตที่ในกรุงเทพฯ สมเด็จพระนโรดมเห็นจะให้ไปสืบและวัดมาดู ได้ขนาดเท่ากัน แต่รูปสัณฐานนั้นผิดกันห่างไกล สีแก้วมรกตที่ฝรั่งหล่อเขียวใสเป็นอย่างขวดเขียวสี่เหลี่ยม ที่มักใช้ใส่น้ำอบกันแต่ก่อน เครื่องประดับก็ทำแต่ทองครอบพระเกตุมาลา และติดรัศมีต่อขึ้นไปสองข้างบุษบก ตั้งลับแลแบ่งปันที่เป็นข้างหน้าในอย่างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ…” โดย กรมพระยาดำราราชานุภาพ

   อีกทั้งพระชินรังสีราชิกนโรดม ประดิษฐานในตู้กระจก ตั้งอยู่หน้าฐานชุกชีพระเเก้วมรกต  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ สร้างด้วยทองคำหนักถึง 90 กิโลกรัม ประดับเพชรพลอย 2,086 เม็ด เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดอยู่ที่มงกุฎมีขนาดถึง 42 กระรัต 


 เจดีย์บรรจุพระอัฐิของบูรพกษัตริย์

ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

    มีเจดีย์สำคัญ 2 องค์ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของพระวิหาร องค์แรกเป็นพระเจดีย์ทรงระฆังบนฐานย่อมุมไม้ ตกเเต่งด้วยศิลปะลายปูนปั้น  ใช้บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต ส่วนอีกองค์เป็นปรางค์ตามแบบปราสาทบันทายศรีเรียกว่า ‘ปรางค์คันธบุปผา’ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ใช้บรรจุอัฐิของพระองค์เจ้าหญิงนโรดมคันธบุปผา 

ที่มา:https://blog.bangkokair.com/



ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

พระรูปมหินทสุวรรณสนองพระองค์ประทับอัสสพงศ์ 


ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/
      

    พระบรมรูปของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2418  มีลักษณะพระบรมรูปทรงม้าในเครื่องแบบทหารตะวันตก ซึ่งเป็นของที่ระลึกจากพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส


ภาพจิตรกรรมฝาผนังระเบียงคต

ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/


เรื่อง “รามเกร์” หรือ รามายณะ นับเป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อศิลปวัฒนธรรมเขมรในทุกๆ ด้าน เขียนขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2446-2447 ซึ่งมีเนื้อเรื่องลำดับตั้งแต่ต้นจนจบโดยเนื้อหาแบ่งเป็นช่อง เป็นตอนเช่น  ตอนหนุมานจองถนน  นางสีดาลุยไฟ   นางเบญจกายแปลง 



ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/


ที่มาhttps://blog.bangkokair.com/

แบบจำลองของปราสาทนครวัด ตั้งอยู่ด้านหลังของพระวิหาร


ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

      นอกจากนี้ยังมีมณฑปพระไตรปิฎก พนมมณฑป   รูปปั้นโคนนทิโบราณศิลปะเขมรโบราณ วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทลายมงคล 108 ประการ และวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท 


ที่มา:
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/08/K11005879/K11005879.html



การเข้าชม 

- เปิดบริการทุกวัน ตั้งเเต่ เวลา 08.00-17.00 น. แบ่ง 2 ช่วง คือ 08.00 – 11.00 น.และ 14.00 – 17.00 น. (ปิดเฉพาะช่วงมีพระราชพิธีสำคัญทางศาสนา)

- อัตราค่าเข้าชมประมาณ 7 USD รวมกับค่าเข้าชมกับพระบรมราชวัง  

- ฤดูที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์) 

การเดินทาง 

 รถตุ๊กตุ๊ก ประมาณ 2-4 ดอลล่าห์สหรัฐ (USD) หรือเหมาเที่ยวทั้งวันประมาณ 20 ดอลล่าห์สหรัฐ (USD)

รถแท็กซี่ ตามบริการมิเตอร์ค่าโดยสาร 


     วัดอุโบสถรตนารามนับเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าและมีความสวยงามด้วยศิลปะวัฒนธรรมตลอดจนว่าเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวกัมพูชา อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ท่องเที่ยวที่สวยงามบ่งบอกที่ประวัติศาตร์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม ฉะนั่นเเล้ว สถานที่แห่งนี้จึงไม่ควรพลาดที่จะมาเยียมชมและดื่มด่ำกับบรรยาการอันเงียบสวบ ท่ามกลางความงดงามแห่งศิลปะทางศาสนา



อ้างอิง

พาลันลา(2020).วัดพระแก้วมรกต (วิหารเงิน) เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=266

ศิลปะ(2020).“พระแก้วมรกต” ในพระราชวังหลวงที่พนมเปญต่างกับไทยไหม วัสดุในพระวิหารมูลค่าเท่าใด.สืบค้นเมื่อวันที่15 กันยายน 2020 จากhttps://www.silpa-mag.com/art/article_26843

Matichon(ม.ป.ป. )ามเกร์-รามเกียรติ์ ที่พระราชวัง “จตุมุข” กรุงพนมเปญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://www.matichonacademy.com/content/culture/article_36740

The Cloud (2019).วัดพระแก้วเมืองพนมเพญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร (2017). ตำนานพระแก้วมรกต กรุงกัมพูชา.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://www.nuac.nu.ac.th/v3/?p=2728


วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเตรียมตัวของมัคคุเทศก์

 

ที่มา:https://e-training.tpqi.go.th/courses/46/info


มัคคุเทศก์ คือหัวใจหลักของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้ที่ดูเเละเเละจัดการกับระบบตลอดทั้งการเดินทางท่องเที่ยว จึงทำให้มัคคุเทศก์จะต้องมีเทคนิควิธีการ เเละการเตรียมตัวสำหรับการเดินทางในเเต่ละครั้ง ภายใต้ความเเตกต่างหลาดหลาย ทั้งทางสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมัคคุเทศก์จำเป้นจะต้องมีไหวพริบ ความละเอียดรอบคอบ และการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้


1. เตรียมเอกสาร


ที่มา:https://thestandard.co/six-month-validity-passport-rule/


มัคคุเทศก์จะต้องมีละเอียดรอบคอบ เช่น ตรวจเอกสารทั้งหมด รายการนำเที่ยว สำเนาจดหมายติดต่อ บัตรเข้าชมสถานที่ ใบจองและเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง และระบุในใบงาน ตลอดจนตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ สัญชาติ วันเกิด อาชีพ และข้อมูลที่เป็นสำคัญเกี่ยวกับลูกค้า เช่นคนนี้แพ้อาหารทะเล คนนี้ทานอาหารเจ เป็นต้น สัญญาเช่าใบจองใบมัดจำต่างๆ ของโรงแรมและสถานประกอบการอื่นๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยและเเก้ไขให้ทันหากเกิดปัญหาขึ้น



2.เตรียมอุกรณ์


ที่มา:https://th.lovepik.com/image-501413894/

      มัคคุเทศจะต้องจัดเตรียมป้าย หรือจัดทำสัญลักษณ์เครื่องหมายของบริษัทนำเที่ยว อาจเป็นป้ายบริษัทหรือป้ายที่มีรายชื่อนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการต้อนรับและแสดงให้นักท่องเที่ยวเห็น นามบัตรบริษัท เพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยว  บัตรติดกระเป๋าเดินทางโดยเขียนชื่อ สกุล รายการทัวร์ติดกระเป๋า อีกทั้ง สำเนาใบประกอบการของบริษัทกรณีตำรวจท่องเที่ยวขอตรวจ   ป้ายชื่อบริษัท สำหรับติดหน้ารถ หลังรถเพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจำได้ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย โดยการเตรียมกล่องปฐมพยาบาล เพื่อช่วยเหลือยามจำเป็น รวมทั้งอุปกรณือำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ กระติ๊กน้ำ แก้วน้ำ เครื่องดื่ม ถุงขยะ กระดาษชำระ ทรโข่ง ลำโพง ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์สันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นขนม ของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ  เพื่อเป็นการผ่อนคลาย สร้างความสนุนสนาน และทำความรู้จักกันมากขึ้นระหว่างเดินทาง 



3.เตรียมข้อมูล


ที่มา:https://sites.google.com/site/kantidamaneerat14574/


มัคคุเทศก์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จะแวะเยี่ยมชมไม่ว่าจะเป็นทางด้านประวัติศาสตร์ เกร็ดความรู้ ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมวิถีการดำรงชีวิต จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ ตลอดจนจังหวัดหรือเมืองที่ผ่าน รวมไปถึงประชากร อาชีพ การคมนาคม ภูมิประเทศ รวมทั้งศึกษารายละเอียดของโปรแกรมท่องเที่ยวให้เข้าใจ ศึกษารายการนำเที่ยว กำหนดการว่ามีกี่วัน  และพักกี่จังหวัด พักที่ไหน ต้องผ่านเมืองอะไรบ้าง แวะที่จุดไหน ผ่านเส้นทางใดบ้าง  ร้านอาหารที่จะไปรับประทานมีชื่อเสียงด้านใด ใช้ยานพาหนะอะไรบ้างในการเดินทาง การเดินทางแต่ละจุดห่างกันแค่ไหน ใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้จัดกิจกรรมบนรถ อีกทั้งารติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองอุทยานเเห่งชาติ กรมป่าไม้  ที่พัก กรมศิลปากร กรมทางหลวง ตำราวจทางหลวง ซึ่งมีความเเตกต่างกันออกไปในเเต่ละสถานที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น


4.เตรียมความพร้อมของตนเอง


ที่มา:https://www.scholarship.in.th/part-time-job-practice-english/

มัคคุเทศก์คือบุคคลที่สำคัญในการเดินทาง เนื่องจากเป็นผู้จัดการระบบทั้งหมดตลอดการท่องเที่ยว นอกจากการเตรียมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเเล้ว สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมัคคุเทศก์ป่วยกระทันหันก็จะทำให้การท่องเที่ยวมีปัญหาได้ ซึ่งจะไม่เป็นผลต่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว ภาพลักษณืและความเสียหายของบริษัท ฉะนั่น มัคคุเทศก์จำเป็นต้องดูเเลสุขภาพของตัวเองให้ดี เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ เตรียมยาประจำตัว ตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้มัคคุเทศก์จะต้องเตรียม ของใช้และเอกสารส่วนตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่อการเดินทางและจะทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีความสุข



มักคุเทศก์คือผู้ควบคุมการเดินทางตลอดการท่องเที่ยว ฉะนั่นจะต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้รอบด้านเสมอ ตลอดจนศึกษารูปแบบกิจการของบริษัท อีกทั้งจะต้องเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง ซึ่งมัคคุเทศก์จะต้องมีความเข้าใจถ่องแท้และเเม่นยำในข้อมูลและแผนการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท รวมทั้งนโยบายของบริษัทกรณีเกิดปัญหา ทั้งนี้มัคคุเทกศก์จะต้องมีความมั่นใจในประสบการณ์ของตนเองเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักคุเทศก์จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการนำเที่ยวทุกครั้ง






อ้างอิง

วิชาชีพของมัคคุเทศก์เพื่อเข้าสู่มัคคุเทศก์อาเซียน.วิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563. จากhttp://www.elfhs.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/440/block




วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ท่องเที่ยว อุโมงค์กู๋จี ตามรอยวิถีแห่งสงคราม

 

ที่มา:https://www.pbs.org/wgbh/americanexperience/collections/vietnam-war/


           การท่องเที่ยวประเทศเวียดนามในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งสร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศ โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ อาทิ พระราชวังเว้ อ่าวฮาลอง เมืองฮอยอัน ชายหาดญาจาง ปราสาทหทีเซิน เป็นต้น ล้วนเเล้วเเต่เป็นการสะท้อนถึงความงดงามทางธรรมชาติ ศิลปะ และวัฒนธรรม ที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างงดงามจากฝีมือของบรรพบุรุษ เเต่ในขณะเดียวกันประเทศเวียดนามต้องผ่านความวุ่นวาย และความขัดเเย้ง จนกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ของประเทศ  ที่สร้างทั้งความภาคภูมิใจแห่งชัยชนะและคร่าชีวิตชาวเวียดนามไปมากเช่นกัน วันนี้จะพาทุกท่านไปเรียรู้ประวัติศาสตร์ ชมอนุสรณ์สถานของสงครามเวียดนามกับ " อุโมงค์กู๋จี " ตามรอยวิถีแห่งสงคราม

ที่มา:https://pickyourtrail.com/blog/cu-chi-tunnels/

  อุโมงค์กู๋จี ตั้งอยู่อำเภอกู่จี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโฮจิมินห์ ประมาณ 40 กิโลเมตร ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม โดยสถานที่แห่งนี้ คือ ที่มั่นหลักทหารเวียดกง  ใช้เป็นที่หลบภัยจากระเบิด และเป็นที่สำหรับประชุมของกองกำลังในสมัยที่รบกับสหรัฐอเมริกา ส่วนภายในของอุโมงค์ประกอบไปด้วยโรงพยาบาล ห้องประชุม และห้องพัก


ที่มา:https://sites.google.com/site/social077/

ประวัติศาสตร์

สงครามเวียดนาม เกิดขึ้นในปี 2498 - 2518  เป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่สองและเป็นการต่อสู้ระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกจากเวียดนาม ชาวเวียดนามเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามต่อต้านอเมริกา หรือ สงครามอเมริกา เป็นการต่อสู้ภายใต้ความเเตกต่างทางอุดมการณ์ระหว่างโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและโลกคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียด บนดินเเผ่นดินเวียดนามตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ได้สร้างร่องเเห่งความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตกว่า 2,058,000 คน ไม่ว่าจะเป็นทหาร พลเรือน   โดยกองกำลังเวียดนามเหนือ หรือที่เรียกว่า กองทหารเวียดมิญ ผสม กับกองกำลังเวียดนามใต้ หรือที่เรียกกันว่า ทหารเวียดกง ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านรัฐบาลเวียดนามใต้เเละทหารสหรัฐอเมริกา ด้วยยุธวิธีเเบบกองโจรจนได้ผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ก่อนกองทัพเวียดนามเหนือก็เข้ายึดเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้สำเร็จ จึงทำให้สงครามเวียดนามที่ดำเนินมาอย่างยาวนานเป็นอันสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือและได้ทำการรวมประเทศเวียดนามกลับมาดังเดิมอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ที่มา:https://www.facebook.com/306137976179096/posts/584833101642914/

อุโมงค์กู๋จี 

ถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายปี 1940 ในช่วงสงครามกับฝรั่งเศส การขุดเจาะอุโมงค์ถูกนำมาสำหรับการสื่อสารระหว่างหมู่บ้านและจะหลบเลี่ยงกองทัพของฝรั่งเศสในพื้นที่ งถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างมากและคนในพื้นที่อำเภอกู๋จี และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพเวียตกง

อุโมงค์ลับจะต่อระหว่างหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน และยังผ่านไปใต้ฐานทัพของอเมริกันอีกด้วย ไม่เป็นเพียงป้อมปราการสำหรับกำลังกองเวียตกง แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของชีวิตชุมชนซึ่งซ่อนอยู่ใต้หมู่บ้านที่ถูกทำลาย เป็นโรงเรียนใต้ดินและพื้นที่สาธารณะที่คู่แต่งงานและสถานที่ส่วนตัวที่คนรักพบกัน มีโรงภาพยนตร์ รวมทั้งแหล่งความบันเทิงด้วยเสียงเพลงและการเต้นรำ คลังเสบียง และคลังอาวุธ


ที่มา:https://pantip.com/topic/30744653

อุโมงกู๋จี มีความยาวถึง 250 กิโลเมตร ทั่วเมืองไซ่งอน(โฮจิมินห์) ลึกลงไปใต้ดินถึง 4 ระดับ ตั้งเเต่ 3  6  10 และ 15 เมตร ตามลำดับ  แต่ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมคือที่ระดับตื้นสุดที่ 3 เมตรจากผิวดิน เปิดให้ชมเพียง 120 เมตรเท่านั้น พร้อมทางออกทุกๆ 20 เมตร   ทหารเวียดกงใช้เป็นสมรภูมิรบแบบกองโจร ซึ่งเมืองใต้ดินแห่งนี้ มีทั้งโรงพยาบาท, ที่เก็บอาวุธ, ห้องประชุม, โรงครัว และมีทหารประจำการอยู่ที่นี้หลายหมื่นคน

นอกจากนี้ยังมียังส่วนแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุโมงค์ ทั้งหนทางจัดการกับดินที่ขุดออกมาจากอุโมงค์ วิธีการระบายอากาศ กับดักศัตรู ทางเข้าลับ วิธีสร้างอาวุธ ฯลฯ อีกทั้งยังคงเหลือซากแห่งสงคราม อาทิ รถถัง เครื่องบิน วัตถุระเบิด และหลุมระเบิดขนาดใหญ่ 

ที่มา:https://pantip.com/topic/31857380

ซากรถถังสหรัฐอเมริกา

ที่มา:https://pantip.com/topic/30744653

รูหายใจ ลักษณะคล้ายจอมปลวก เพื่อพรางตาทหารสหรัฐ

 

Handycrafted 

ซึ่งเป็นศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าจากผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม

ที่มา:https://pantip.com/topic/39320488

อัตราค่าเข้าชม

ซื้อจากบริษัททัวร์ที่ถนน Pham Ngu Lao ในเมืองโฮจิมินห์  ราคาคนละ 80,000 ดง หรือ 130 บาท 

ค่าเข้าชมคนละ 110,000 ดอง (151 บาท)



จะเห็นได้ว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นเรื่องราวหลายหลายแง่มุมทั้งความสุข ความทุกข์ ความสูญเสีย อันการย้ำเตือนถึงความโหดร้ายของสงคราม ในขณะเดียวกันยังได้เรียนรู้ถึงการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของผู้คน ภูมิปัญา ความคิด ความร่วมมือร่วมใจ จนสามารถผ่านอุปสรรค์ต่างๆมาได้  อย่างเช่น อุโมงค์กู๋จี เเห่งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ และเอาชีวิตรอดของคนเวียดนาม ฉะนั่น ผมจึงอยาเชิญชวนทุกๆท่านได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งสงครามนี้ เเละเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ ตลอดจนความโหดร้าย ความทุกข์ยากลำบาก จากผลพวงของสงคราม และตระหนักว่าสงครามไม่เคยส่งผลดีต่อใคร ความเอื้อเพื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะสร้างสันติสุขได้อย่างเเท้จริง






อ้างอิง