หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

" ท้าวกุเวร" อธิบดีแห่งจตุโลกบาล เบื้องทิศอุดร



ที่มา:http://videominecraft.ru/watch/hoPrNfoeMUg/.html




    
 "  อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ  ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ    ”


ที่มา:https://www.pintaram.com/u/srithong2001/1616022614730376904_6103582773


         ท้าวกุเวร หนึ่งในท้าวจตุโลกบาล เจ้าเเห่งยักษ์ทั้งหลาย ปกครองโลกเบื้องทิศเหนือ เป็นเทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์รักษาสมบัติของเทวโลก มีอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้าป้องกันภัยอันตรายจากภูตผี วิญญาณ ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม



 




ประวัติ

    ตามตำนานกล่าวในมหากาพย์รามายาณะไว้ว่า " ท้าวกุเวร "หรือ เวสสุวรรณ ครองกรุงลงกา ซึ่งสร้างโดยพระวิศกรรม   เป็นโอรสของ พระวิศรวิสุมนี กับ นางอิทาวิทา   ซึ่งท้าวกุเวร ใฝ่ใจกับท้าวมหาพรหม เป็นเหตุทำให้บิดาโกรธเพราะถือทิฐิว่า ตนเป็นยักษ์ ที่เป็นเทวดาต่ำศักดิ์กว่า ไม่ควรไปยุ่งกับเทวดา ที่บนสวรรค์ชั้นสูงกว่า เห็นคนอื่นดีกว่าพ่อจึงแบ่งภาคเป็นท้าวลัสเตียนแต่งงานนางนิกษา มีโอรสด้วยกันคือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และ นางสำมะนักขาท้าวมหาพรหมได้ประทานบุษบกที่สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ เป็นเพราะท้าวกุเวรนั้น ต้องการบำเพ็ญตบะบารมี ด้วยการเข้าฌาน และบำเพ็ญทุกรกิริยา นานนับพันปี  นางนิกษาด้วยความอิฉจา ได้ยุยงให้ทศกัณฐ์ ชิงกรุงลงกา มาจากท้าวกุเวร ทั้งยังชิงเอาบุษบกอันพระพรหมได้ประทานแก่ท้าวกุเวรมาด้วย  เมื่อท้าวกุเวรต้องเสียกรุงลงกาไปแล้ว ท้าวมหาพรหมท่านก็สร้างนครให้ใหม่ ชื่อ “อลกา” หรือ “ประภา” อันตั้งอยู่ที่เขาหิมาลัย มีสวนชื่อ “เจตรรถ” อยู่บนเขามันทรคีรี อันเป็นกิ่งแห่งเขาพระสุเมรุ บ้างก็ว่า ท้าวกุเวร อยู่ที่เขาไกรลาส ซึ่งพระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างให้
     ตามตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ไว้ว่า พราหมณ์นามว่ากุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพ ด้วยการทำไร่อ้อย ค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวยด้วยความใจบุญได้บริจาคเงินและน้ำอ้อยให้ผู้ยากไร้ จนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจ แห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร" ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแล พระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสสุวรรณ" คำว่า เวส แปลว่า พ่อค้า หมายถึงพ่อค้าอันมีทรัพย์มาก 
   
      




ที่มา:http://kornbykorn.blogspot.com/2013/01/blog-post_1419.html


 ลักษณะของท้าวกุเวร

    ท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งยักษ์ทั้งปวง  มีลักษณะเป็นยักษ์มี  4 กร  3 ขา สันฐานสูง 200 เส้น มีฟัน 8 ซี่ ร่างกายขาวกระจ่าง สวมอาภรณ์อันงดงามทรงมงกุฏน้ำเต้าไว้บนพระเศียร มีกระบองหรือคฑาเป็นอาวุธประจำกาย พาหนะคือ ม้าสีขาวนวลราวกับปุยเมฆ มีมเหสีเป็นยักษิณีนามว่า จารวี มีลูกชาย คือ วรรณกวีเเละ มยุราช มีลูกสาว ชื่อ มีนากษี




ที่มา:http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15385
หน้าที่

    ท้าวกุเวรเป็นเจ้าเเห่งยักษ์ ทำหน้าที่ปกครองหมู่ยักษ์ทั้งหลาย และเหล่าภูตผี วิญญาณ ผู้คนจึงนิยมแขวนรูปเป็นพระยายักษ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากภูตผีวิญญาณที่มารบกวนเด็ก อีกทั้งผ้ายันต์ท้าวกุเวรที่นิยมนับถือในหมู้สัปเหร่อเเละเพชรฆาต ท้าวกุเวรยังทำหน้าที่ธำรงความยุติธรรมด้วยท่านจะทำหน้าที่จดบันทึกความดีความชั่วของมวลมนุษย์เพื่อเเจ้งต่อพระยายมราช และดูเเลความเรียบร้อยบนสวรรค์ จึงใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของอัยการซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งพระองค์ยังเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ปวารณาตนปกป้องรักษาศาสนสถานและพระศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งเหล่าภิกษุสามเณรทั้งหลาย ในลักษณ์ของยักษย์ 2 ตนผู้รักษาประตูทางเข้าสู่ศาสนสถานหรือที่เรียกว่าทวารบาล และยังเป็นเทพเจ้าเเห่งความร่ำรวยมั่งคั่ง ทำหน้าที่รักษาทรัพย์สมบัติอันมีค่าในเทวโลกจึงเป็นเทพเจ้าที่ผู้คนนับถือเป็นอย่างมาก


ที่สถิต

   ท้าวกุเวร สถิตอยู่บนยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ กว้าง 50 โยชน์ ปกคลุมไปด้วยพันธ์ุดอกบัวเบ่งบานอย่างงดงาม และยังเต็มไปด้วยหมู่ปลานานาพันธ์ุ ขอบสระมีมณฑปชื่อ ภคลวดี ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมไปด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งออกดอกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพูทั้งยังเป็นที่พบปะของยักษ์บริวารทั้งหลายและยังมีราชธานี 2 แห่ง ชื่อ อาลกมันทา และ วิสาณา มีนครอีก 8 นครสำหรับแปรเทพยสถาน ท้าวกุเวรมียักษ์เสนาบดีทั้ง 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษย์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน





ลักษณะงานศิลปะ

 ศิลปะไทย

   ตามความเชื่อของคนไทยโบราณ ที่ว่า ท้าวกุเวร หรือเวสสุวรรณ มีฤทธฺ์และอำนาจปราบภูติผี วิญญาณร้ายเเละภัยต่างๆที่ไม่สามารถมองเห็นได้ จึงนิยมบูชาผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณติดตัวเพื่อคุ้มครอง



ที่มา:http://jramulet.tarad.com/product.detail_415522_th_6611117#
หัวโขน

ท้าวกกุเวรนุราช กายสีขาว สวมมุงกุฏน้ำเต้า ขัดคทา ถือศรเป็นอาวุธ

ที่มา:http://tewaboocha.tarad.com/article-th-42346-ประเพณีและความเชื่อของหัวโขน.htm

สัญลักษณ์อัยการ

    พระไพศรพณ์ (ท้าวกุเวร)คือ เป็นเทวดา สัญญลักษณ์ของอัยการ มือขวาถือตระบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้ (เทวดา)ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์ ตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้วเนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์ในสวรรค์

ประติมากรรม 


ที่มาhttps://app-udoncity.udoncity.go.th/post/ท้าวเวสสุวรรณโณ-หรือท้าวกุเวร
   ท้าวกุเวร เทพเจ้าเเห่งยักษ์ทั้งปวง แสดงออกในลักษณะของยักษ์ถือกระบอง สวมมงกุฏไว้บนศรีษะ สวมอาภรณ์ตามแบบโขนไทย ประทับยืนบริเวณประตูทางเข้าวัด พระอุโบสถ จำนวน 2 ตน เช่น  ยักษ์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อีกทั้ง รูปปั้นท้าวกุเวร ณ ศาสหลักเมือง จังหวัดอุดรธานี และประติมากรรมท้าวกุเวร ในการประดับพระเมรุมาศงานถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9
 
 จิตรกรรม 


ที่มา:https://www.facebook.com/Kuewr/photos/a.1554029648207544/1554230201520822/?type=3&theater

   ลักษณะการเขียนจิตรกรรม มีลักษณะเป็นยักษย์ 4 กร ถือกระบอง สวมมงกุฏ สวมเครื่องประดับสวยงาม

       
ศิลปะชวา
ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5546170/K5546170.html

ท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย เเสดงออกในลักษณะรูปร่างอ้วนสมบรูณ์และมีหม้อเงินวางอยู่ด้านล่างหมายถึงร่ำรวยมาจนเหลือกินเหลือใช้ ส่วนมือขวาถือมะนาว ผลไม้ที่ใช้ผสมเหล้า เป็นเครื่องดื่มของคนรวย ล้อมรอบด้วยคนเเคระ แสดงถึงความสุขสบาย มีข้าทาสบริวารและขุมทรัพย์ เช่น ภาพสลักท้าวกุเวร และนางหาริตี ณ จันทิเมนดุต



ท้าวกุเวรสำริด 
 
ที่มา:http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/อินโดนีเซีย/item/439-ท้าวกุเวรสำริด.html/

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง รูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละ ทั้งเครื่องแต่งกายและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประภามณฑลมีเปลวไฟและมีฉัตรประดับ แท่นบัลลังก์มีผ้าทิพย์รูปวงโค้ง มีพุงโตห้อย มีเศียรเดียวสองกร พระกรขวาถือผลพีชปูรกะ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือพังพอนซึ่งคายนานารัตนะออกมา พวงมาลัยทำจากดอกอุตปละซึ่งตรงกับสาธนมาลา แสดงการ เตะ หม้อเพชรพลอยให้หกกระจาย

ศิลปะจีน



ที่มา:http://www.amuletpura.com/article/2/ท้าวกุเวรมหาราช-พระธนบดีศรีธรรมราช-ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง

     เรียกว่า ตัวเหวินเที่ยนหวัง 多聞天王 / 多闻天王  เป็นหนึ่งในเทพเจ้า " ไฉ่ฉิงเอี๊ย" เทพเจ้าเเห่งความร่ำรวย มีลักษณะคือ พระหัตถ์ขว่าถือลูกแก้ววิเศษ พระหัตถ์ซ้ายถือพังพอนที่กำลังคายเพชร,นิล,จินดา,แก้วเเหวนเงินทอง พระบาทซ้ายเหยียบหอยโข่ง นั่งท่ามหาราชา

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=aq3gdkTuJ9I

      ท้าวกุเวร หรือ เวสสุวรรณ เทพเจ้าผู้ปกครองยักษ์และภูติผี วิญญาณทั้งปวง อีกทั้งเป็นผู้รักษาโลกเบื้องทิศอุดร ทำหน้าพิทักษ์รักษาพระศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายเเก่มวลมนุษย์และประทานโชคราภความร่ำรวยมั่งคั่ง แก่ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ และยังเป็นผู้ธำรุงไว้ซึ่งความยุติธรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว  ท้าวกุเวรยังเป็นตัวอย่างของผู้ให้ การเเบ่งปันซึ่งกันเเละกัน ของมนุษย์ทั้งหลาย นำมาสู่ความรัก ความเคารพนับถือ และการได้รับความสรรเสริญในที่สุด






อ้างอิง


วัดเขาไกลาส.( 2558).ตำนานท้าวกุเวร.สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 จากhttp://www.watkaokrailas.com/articles/42191801/ตำนานท้าวกุเวร.html

วิกิพีเดีย.(2560).ท้าวเวสวัณ.สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2561.จากhttps://th.wikipedia.org

HOROSCOPE.(ม.ป.ป.).ท้าวเวสสุวรรณ เทพเเห่งความมั่นคง.สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2561.จากhttps://horoscope.kapook.com/view15559.html   

 Author Archives.(2560).เรื่องราวของท้าวกุเวร.สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2561.จากhttp://www.silpathai.net
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น