หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การสำรวจเอกสารเกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบาง (หลวงพระบางเมืองเเห่งมรดกโลก)


 
ที่มา:https://www.winning-travel.com/product/24411/lpb05


เมืองหลวงพระบางอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง เป็นเมืองหลักของเเขวงหลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นที่ยาวนานและยังเคยเป็นเมืองหลวงเก่า  อุดมไปด้วยวัฒนธรรมและ รูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ในแบบพื้นเมืองเเละอิทธิพลจากเจ้าอาณานิคมโดยเฉพาะความงดงามของวัดเชียงทอง ซึ่งนับว่าเป็นอัญมณีล้ำค่าแห่งสถาปัตยกรรมล้านช้างทำให้เมืองหลวงพระบางมีการผสมผสานที่โดนเด่น ตลอดจนวิถีชีวิตอันสงบเรียบง่ายพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ภายใต้เเรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสา ก่อกำเนิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามอาทิ การตักบาตรข้าวเหนี่ยว สรงน้ำพระบางบุญปีใหม่ บุญส่วงเฮือ   จนกระทั้งปีพ.ศ. 2538 United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) ได้ประกาศให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมในฐานะที่ อนุรักษ์ความเก่าแก่ดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(the best preserved city in South-East Asia) ส่งผลให้เมืองหลวงพระบางกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ต้องการสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งเมืองหลวงพระบาง

ที่มา:http://shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=284&lang=th



งานศึกษาเกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางตั้งเเต่พ.ศ.2540-2562 ซึ่งใช้วิธีการศึกษาโดยการสำรวจรวบรวมข้อมูลรจากหนังสือ วิทยานิพน บทความ วารสาร และวีดีทัศน์ ซึ่งได้จากหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเอกสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ ฐานข้อมูลThailis, ฐานข้อมูลThaijo อีกทั้งการสืบค้นข้อมูลประเภทวีดีทัศน์เกี่ยวกับเมืองหลวงพระบางจาก เว็บไซต์www.youtube.com 


พบว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลวงพระบางมีทั้งหมด 36 ชิ้น แบ่งเป็น หนังสือ 12 เล่ม วิทยานิพน 2 ชิ้น บทความ 9 ความ วารสาร 1 ชิ้น งานวิจัย 1 ชิ้น และวิดีทัศน์ 11 เรื่อง โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็นช่วงเวลา 4 ช่วง ได้เเก่ 1.ปี พ.ศ. 2540-2545  2. ปี พ.ศ.2546-2550 3.ปีพ.ศ. 2551-2555 และ 4.ปีพ.ศ.2556-2562 ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้







1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545



ที่มา:http://cmhop.finearts.cmu.ac.th/product/


จากการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ. 2540-2545  พบเอกสารจำนวน 6 ชิ้นเป็นเอกสารประเภทหนังสือทั้งหมด สามารถแบ่งเอกสารได้ 3 ประเด็นดังนี้ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม และด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย



ลำดับ
ผู้แต่ง
ชื่อเรื่อง
ปีที่พิมพ์
ประเด็นที่นำเสนอ
1
สีลา วีระวงส์   
ประวัติศาสตร์ลาว
2540
ประวัติศาสตร์
2
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์
จากหลวงพระบางถึงเวียงจันทน์
2544
สถาปัตยกรรม
3
ล้อม เพ็งแก้ว
ออนซอนหลวงพระบาง  
2544
ท่องเที่ยว
4
เสรี ตันศรีสวัสดิ์และอรณี แน่นหนา
สบายดีหลวงพระบาง
2544
ท่องเที่ยว
5
มหาคำ จำปาแก้วมณี
ประวัติศาสตร์ลาว
ม.ป.ป.
ประวัติศาสตร์
6
อู่คำ  พมวงสา
ประวัติศาสตร์ลาว
ม.ป.ป.
ประวัติศาตร์
ตัวอย่างเช่น
สีลา วีระวงส์(2540)ประวัติศาสตร์ลาว
ที่มา:https://www.goodreads.com/book/show/34210857

   แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเมืองหลวงพระบางหรือกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ล้านช้างหลวงพระบางและเชียงทอง แต่เดิมนั้นดินแดนแห่งนี้น่าเป็นที่อยู่ของพวกขอม ปรากฏเมืองชื่อว่าชวา ก่อนที่จะมีกลุ่มคนลาวเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้เป็นของตัวเอง  รวมทังตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองดินแดนแห่งนี้เช่นขุนลอ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรื่องขึ้นชุมชนขยายใหญ่ เมืองมีความสำคัญกษตริย์ต่อๆมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่รัชสมัยพญาสุวรรณคำพง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเชียงดงเชียงทอง กระทั้งพระเจ้าฟ้างุ่มซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ลาวโดยเฉพาะหลวงพระบาง จำต้องมีพระเจ้าฟ้างุ่มปรากฏอยู่ในเอกสารที่เกี่ยวกับหลวงพระบางเพราะพระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรล้านช้างให้เป็นปึกแผ่นครั้งแรกมีอาณาเขตที่กว้างขวง อีกทั้งยังนำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเข้ามายังดินแดนล้านช้างและนับถือสืบทอดมายังปัจจุบันรวมทั้งองค์พระบางซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมือง  แต่เดิมน่าจะนำมาไว้ยังที่เมืองเวียงจันทน์ก่อน แล้วจึงอัญเชิญมาหลวงพระบางในภายหลังเพราะปรากฏนามพระเจ้าแสนไทภูวนาทเป็นผู้อัญเชิญองค์พระบางมายังเมืองหลวงพระบาง และได้เปลี่ยนชื่อจากเชียงดงเชียงทองมาเป็นเมืองหลวงพระบาง กระทั้งอาณาจักรล้านช้างเกิดความระส่ำระส่ายแตกแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระต่อกันเมื่อปี 1707 เป็น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และ จำปาศักดิ์ อาณาจักหลวงพระบางจึงมีกษัตริย์ปกครอง รวม 12 องค์ ได้แก่.เจ้ากิงกิสราช เจ้าองค์นก เจ้าอินทะโสม เจ้าโชติกะ เจ้าสุริยวงศา เจ้าอนุรุท เจ้ามันทตุราช เจ้าสุขเสิม เจ้าจันทราช เจ้าอุ่นคำ จ้าคำสุก และสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ก่อนที่อาณาจักรล้านช้างจะรวมเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ส่วนเอกสารบางเล่มกล่าวว่ามีเพียง 6 องค์ เจ้ากิงกิสราช เจ้าองค์นก เจ้าอินทะโสม เจ้าอินทวงศ์ เจ้าโชติกะ เจ้าสุริยวงศา เพราะหลวงพระบางเป็นเอกราชเพียง 71 ปีเท่านั้นก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้อำนาจของไทย ซึ่งรัชกาลต่อๆมาก็ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ไทย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไทย จึงไม่ได้เป็นกษัตริย์ของหลวงพระบางที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง



ล้อม เพ็งแก้ว(2544):ออนซอนหลวงพระบาง



ที่มา:http://clm.up.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=287317

   หนังสือออนซอนหลวงพระบางเป็นหนังสือท่องเที่ยวบอกเล่าถึงการเดินทางชมความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างหลวงพระบาง วัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน อีกทั้งธรรมชาติ แม่น้ำโขงและขุนเขา ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่ออันทรงคุณค่า ผ่านประสบการของผู้เขียน 5 คนได้แก่ ล้อม เพ้งแก้ว มนู อุดมเวช รังสิต จงฌานสิทโธ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ภัทรพงศ์ คงวิจิตร โดยแบ่งออกเป็น 8 บทดังนี้ 1.งามดวงจำปา 2. รำลึกชาติที่หลวงพระบาง 3.ล่องน้ำของ 4.ทางเลข13 5.หมากมี่ เล็บสง่า กับอ้ายดำแกร ตำนานแม่เฒ่าเมืองงอย 6.สมโภชพระบาง 7.อีป๊อกตัวสุดท้ายที่เชียงทอง และ 8.ลาลับแล้วดวงแก้วหลวงพระบาง ซึ่งบอกเล่าถึงเรื่องราวที่น่าสนใจเช่น บอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเมืองพระบาง ตั้งแต่เป็นเมืองเชียงทอง และงานสงกรานต์อันสนุกสนาน ประกวดนางสังขาร ขบวนแห่วอและสรงน้ำองค์พระบางซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน  ตื่นตาตื่นใจกับปู่เยอย่าเย่อเทวดาหลวงในตำนาน การแสดงชมโภชพระบางด้วยวงพิณพาทย์ รำโคม ฟ้อนนางแก้ว การฟ้อนลิง ละคร
พระลักษณ์พระราม วัฒนธรรมอังงดงามเหล่านี้เปรียบได้ดั่งดอกจำปาหรือดวงจำปา ดอกไม้ประจำชาติลาว   อีกทั้งการเดินทางยังหลวงพระบางของผู้เขียน การเดินทางทางน้ำลงเรืองล่องน้ำโขงชมธรรมชาติ เขาสูง ถ้ำติ่ง แก่งฮ่างใหญ่ แก่งอ้อยและเกาะแกงอื่นๆ อีกทั้งการเดินทางทางบกด้วยถนนหมายเลข13 ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญอันคดเคียวและสูงชันระหว่างเวียงจันทน์กับหลวงพระบาง ซึ่งตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยภูเขาสลับกับหุบเหวเช่นภูพระ ผ่านเมืองโพน เมืองหินหาบ เข้าสู่มืองวังเวียงเมืองอันสงบร่มรื่นท่ามกลางธรรมชาติริมลำน้ำซอง ผ่านเมืองกาสี เมืองแห่งหุบเขาอย่างเมืองเชียงเงิน และเข้าสู่หลวงพระบางไปสู่เมืองงอยเมืองแห่งประวัติศาสตร์การปราบฮ่อ

 เมืองหลวงพระบางเมืองมรดกโลกในปี พ.ศ. 2541 ล้วนเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมวัดวาอารามกว่า 32 แห่ง เช่น วัดพระธาตุพูสี วัดเชียงทอง พระราชวังหลวง อีกทั้ง วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆเช่น การแสดงหุ่นกระบอกหรืออีป๊อก ซึ่งได้รับการฟื้นฟูอนุรักษ์อีกครั้ง ภาษาพูดอันอ่อนหวาน การต้อนรับ มิตรไมตรีจิต  ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชนเผ่าเช่นข้องใส่ปลาชนเผ่าลื้อ ถูกสานด้วยหวายอย่างแข็งแรงและวิถีชีวิตอันเรียบง่ายอยู่กินกับธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมอีตครองผ่านการเวลาและความรักใครกลมเกลียวดั่งญาติมิตรซึ่งเงินทองไม่ใช่สิ่งสำคัญ ทำให้ผู้เขียนหวนลำรึกถึงอดีตเมื่อยังเด็กที่ไม่วุ่นวายเหมือนสังคมไทยในปัจจุบัน


สรุป  จากการสำรวจเอกสารเกี่ยวกับหลวงพระบางช่วงปีพ.ศ.2540-2545 พบว่า เป็นเอกสารประเภทหนังสือทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงประเด็นด้านประวัติศาสตร์มากที่สุด  รองลงมาคือประเด้ฯด้านการท่องเที่ยว แสดงให้เห็นถึงการเดินทางท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง และสุดท้ายคือด้านสถาปัตยกรรม ถือได้ว่าเป็นยุคเเรกๆของงานเขียนเกี่ยวกับหลวงพระบางซึ่งยึดโยงอยู่กับประวัติศาสตร์เป็นหลัก เราจึงเห็นงานศึกษาของมหาสีลา วีละวงศ์ถูกใช้อ้างอิงข้อมูลในงานเขียนรุ่นต่อๆมา โดยอธิบายให้เห็น ประวัติเมืองหลวงพระบางในฐานะราชธานีเเห่งเเรกของอาณาจักรล้านช้างโดยเริ่มจากขุนลอปฐมกษัตริย์ลาว ต่อด้วยพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งหลวงพระบางเดิมมีชื่อว่า เชียงดงเชียงทองก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อหลวงพระบาง เนื่องจากอัญเชิญองค์พระบางมาประดิษฐานยังดินแดนแห่งนี้พร้อมพระพุทธศาสนา โดยหลวงพระบาง มีเจ้ามหาชีวิตปกครองร่วม 6 องค์ ได้เเก่ เจ้ากิงกิสราช  เจ้าองค์นก เจ้าอินทะโสม เจ้าอินทวงศ์ เจ้าโชติกะ เจ้าสุริยวงศา ถือเอาเฉพาะตอนเป็นเอกราชเท่านั้น ในขณะที่การท่องเที่ยวเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเเละถือเป็นเอกสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหลังจากการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งอธิบายและเเนะการเดินทางโดยการใช้รถ เรือ และเครื่องบิน โดยการเที่ยวชม วัดวาอาราม ธรรมชาติ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี จากประสบการณ์การเดินทางซึ่งสัมผัสด้วยตัวเอง ในขณะเดียวกันเอกสารที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเริ่มมีบทบาทควบคู่กับการท่องเที่ยวเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวในหลวงพระบางส่วนใหญ่เป็นวัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน  จึงทำให้การศึกษาด้านสถาปัตยกรรมดำเนินควบคู่กับการท่องเที่ยวนั่นเอง







2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ.2546-2550



ที่มา:http://supreme-lanna.lnwshop.com/article/1


จากการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ. 2546-2550พบเอกสารจำนวน 4 ชิ้นแบ่งเป็นเอกสารประเภทหนังสือ 3  ชิ้น เเบ่งได้เป็น ด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว และเอกสารประเภทวารสารด้านการท่องเที่ยว 1 ชิ้น ดังนี้

1.หนังสืออาณาจักรลาว พิมพ์ปี พ.ศ. 2547 ของ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
2.หนังสือหลวงพระบาง บางสิ่งไม่เปลี่ยนไป ใจไม่เปลี่ยนแปลง พิมพ์ปี พ.ศ. 2547
ของสมิทธิ ธนานิธิโชติ
3.หนังสือคู่มือนำเที่ยวหลวงพระบาง พิมพ์ปี พ.ศ. 2548 ของ ศรัณย์ บุญประเสริฐ
4.วารสารเรื่องท่องมนต์เสน่ห์หลวงพระบาง พิมพ์ปี พ.ศ. 2547 ของ กุลศรี  สุริยเดชสกุล เบญจวรรณทัศนสีลพรและวารินจันทศรี

จากการสำรวจเอกสารเกี่ยวกับหลวงพระบางช่วงปีพ.ศ.2546-2550 พบว่า เอกสารส่วนใหญ่ยังเป็นประเภทหนังสือเเละมีประเภทวารสารด้วย ซึ่งประเด็นที่นำเสนอเริ่มแตกต่างจากช่วงก่อนหน้านี้โดยประเด็นส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นการท่องเที่ยวในด้านวัฒนธรรม ประเพณี เช่น เดือน5บุญปีใหม่ เดือน9บุญส่วงเฮือ อีกทั้งการท่องเที่ยวทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น วัดเชียงทอง วัดวิชุน ตลอดจนธรรมชาติ และวิถีชีวิตอันงดงามของชาวหลวงพระบาง ส่วนด้านประวัติศาสตร์ความสำคัญเริ่มลดลง โดยยังคงนำเสนอ ความเป็นมาของเมืองหลวงพระบางในฐานะราชธานีเเห่งเเรกของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ลาวและยังให้ความสำคัญกับพระเจ้าฟ้างุ้มเช่นแต่ก่อน โดยยึดเอาราชวงศผู้ปกครองเมืองหลวงพระบางเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายประวัติศาสตร์นับเอาเจ้ามหาชีวิตปกครองร่วม 12 องค์ ซึ่งรวม เจ้าอนุรุท 7.เจ้ามันทตุราช8.รัเจ้าสุกเสิม9.เจ้าจันทรเทพปภาคุณศุภสุนทรธรรมธาดา(เจ้าจันทราช) เจ้ามหิทราเทพนิภากร(เจ้าอุ่นคำ) .เจ้าสักรินฤทธิ์ (จ้าคำสุก)และ.พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของสยามเเละฝรั่งเศสตามลำดับ ส่วนเอกสารประเภทวารสารยังคงนำเสนอประเด็นด้านการท่องเที่ยวเช่นกันโดยนำเสนอความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมศิลปะล้านช้าง ซึ่งตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทอง ประดับกระจกอย่างสวยงาม และวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของผู้คนอันสงบเรียบง่ายและยังมีเเหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกมายมาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พิสูจน์มนต์เสน่ห์แห่งเมืองในอุดมคติแห่งนี้





3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ.2551-2555 



ที่มา:https://www.sunsmileholiday.com/TourLaos/844

จากการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวของกับเมืองหลวงพระบางปีพ.ศ.2551-2555 พบเอกสารจำนวน 7 ชิ้นเป็นแบ่งเป็นเอกสารประเภทหนังสือ 3 ชิ้น บทความ 3 ชิ้นเเละงานวิจัย 1 ชิ้น ดังนี้เอกสารประเภทหนังสือ 3  ชิ้นเเบ่งเป็นประเด็นการท่องเที่ยวและด้านประวัติศาสตร์





ลำดับ
ผู้เเต่ง
ชื่อเรื่อง
ปีที่พิมพ์
ประเด็นที่นำเสนอ
1
ปณธาดา ราชกิจ
หลวงพระบาง 
คู่มือท่องเที่ยวลาว
ด้วยตนเอง 
2554
การท่องเที่ยว
2
มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์  
ประวัติศาสตร์ลาว 
2555
ประวัติศาสตร์
3
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์
ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ
2555
ประวัติศาสตร์



จากการสำรวจพบว่าเอกสารประเภทหนังสือกลับมาให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์อีกครั้งในช่วงนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองหลวงพระบางเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวแต่รูปแบบการนำเสนอมีความเเตกต่างออกไปจากเดิมโดยเป็นการศึกษาที่มีหลากหลายมิติมากขึ้น เป็นการวิเคารห์เนื้อหาประวัติศาสตร์เเบบเดิมๆ ด้วยการสะท้อนผ่านมุมมองที่หลากหลายของผู้เขียน ไม่ว่าจะเป้นตำราเรียน พงศาวดาร อาทิการนับลำดับกษัตริย์กว่า 44 องค์ ตลอดจนตำนานเรื่องเล่า  ซึ่งได้นำมาคิดวิเคราะห์และวิจารญ์ในรูปแบบของประวัติศาสตร์หลวงพระบางแบบสมัยใหม่ สะท้อนให้เห็นการเก้บรวบรวมข้อมูลเอกสารหลักฐานได้จำนวนมากขึ้นของนักวิชาการสมัยใหม่นั้นเอง ส่วนประเด็นด้านการท่องเที่ยวถือว่าปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันโดยการให้คำแนะนำ และการวางโปรแกรม การเตรียมตัวก่อนเดินทาง การเดินทาง เส้นทาง ข้อมูลด้านเงินตรา สภาพอากาศหรือฤดูกาลที่เหมาะกับการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยว





เอกสารประเภทบทความ  3 ชิ้น ซึ่งนำเสนอหลวงพระบางในฐานะเมืองมรดกโลก การปรับเปลี่ยนของเมืองเพื่อให้สอดคลบ้องกับฐานะเมืองมรดกโลกและรองรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนหลักความเชื่อ จารีตต่างๆของชาวหลวงพระบาง มีดังนี้


ลำดับ
ผู้เเต่ง
ชื่อเรื่อง
ปีที่พิมพ์
ประเด็นที่นำเสนอ
1
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์.
หลวงพระบาง:การเปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองมรดกโลก
2552
เมืองมรดกโลก
2
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์.
เรื่องหลวงพระบางในจักรวาลวิทยาแบบรัฐจารีต: พื้นที่พิธีกรรมและกระบวนการกลายเป็นราชธานีของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง
2553
ความเชื่อ
3
กษม  อมันตกุล
การออกแบบสัญลักษณ์ในเมืองมรดกโลก “หลวงพระบาง” และอัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่  
2554
เมืองมรดกโล


  

  จากการศึกษาพบว่าเอกสารประเภทบทความนำเสนอประเด็นด้านเมืองหลวงพระบางในฐานะเมืองมรดกโลกโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ขนมธรรมเนียม ประเพณี เพื่อรองรับอุตสหกรรมการท่องเที่ยวหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ตลอดจนการเตรียมตัวเพื่อการเป็นเมืองมรดกโลกตามหลักสารกล อาทิ กฎหมาย และการใช้สัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ุการท่องเที่ยว นอกจากนี้มีประเด็นด้านความเชื่อโดยการสร้างชุดความเชื่อผ่านตำนาน นิทานเรื่องเล่าเพื่อเเสดงถึงอำนาจของชนชาติลาวตลอดจนการสร้างเมืองเมืองพระบางและปกครองดินแดนแห่งนี้ตามสิทธิอันชอบธรรมตามหลักความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เป็นการสร้างความหมายเเละการช่วงชิงตลอดจนการสร้างวาทกรรมเพื่อผลประโยชน์  สะท้อนให้เห็นว่าเอกสารประเภทบทความมีการวิเคารห์ส่วนต่างๆให้สอเคล้องกับหลักสังคมศาสตร์มากขึ้น การใช้เเนวคิดวิธีวิทยาที่หลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเเละเป็นจริงตามสถานการณ์ปัจจุบัน

และเอกสารประเภทงานวิจัยเรื่องปู่เญอ ย่าเญอ : การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมพื้นเมืองหลวงพระบาง อันเกี่ยวเนื่องจากอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว(2554).พวงสะหวัน ศึกษาความเชื่อเรื่องปู่เญอ ย่าเญอ ในประเพณีสงกรานต์ซึ่งเป็นผีแห่งบรรพบุรุษ แต่เดิมการทำพิธีกรรมเลี้ยงถวายเครื่องสังเวยเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษและเป็นการปฏิบัติฮีตคองประเพณี ต่อมาแนวคิดและการจัดระเบียบของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว ทำให้ความเชื่อปู่เญอ ย่าเญอเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะการสาดน้ำใส่ปู่เญอ ย่าเญอขณะเดินขบวนสงกรานต์ช่วง 20 ปีก่อนนั้นมีความเชื่อว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นเพียงการอวยพรด้วยน้ำหอมให้ปู่เญอ ย่าเญอ เพื่อขอให้มาคุ้มครองตนให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งตามร้านค้า มีการทำตุ๊กตาปู่เยอ ย่าเยอจำหน่ายเป็นของที่ระลึก




    อกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ.2551-2555  พบว่าเป็นช่วงที่เอกสารแต่ละประเภทมีความเปลี่ยนเเปลงทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว บทความในฐานะเมืองมรดกโลก และงานวิจัยการปรับเปลี่ยนรูปแบบประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว  ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเป็นขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก ในปี พ.ศ.2538 โดยองค์การยูเนสโก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านเช่น วิถีชีวิต อาชีพ ธุรกิจ ความเป็นอยู่ค่าครองชีพ ประเพณี เเละ วัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งนี้นโยบายจิตนการใหม่ ของรัฐบาลสปป.ลาวซึ่งทำให้เมืองหลวงพระบางกลายทรัพยากรการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติลาวในยุคอดีต รวมทั้งสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมเเละพิธีกรรม ถือว่าเป็นสำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวงพระบาง 







4.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ.2556-2562


ที่มา:https://www.thetrippacker.com/


จากการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวของกับเมืองหลวงพระบางปีพ.ศ.2556-2562 พบเอกสารจำนวน 20  ชิ้นเป็นแบ่งเป็นเอกสารประเภทบทความ 8 ชิ้น วิทยานิพนธ์ 2 ชิ้น และวีดีทัศน์ 11 เรื่อง  ดังนี้ เอกสารประเภทบทความ จำนวน 8 ชิ้น ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมและประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองหลวงพระบางเเละเป็นมนต์เสน่ห์สำหรับการท่องเที่ยวดังนี้




ลำดับ
ผู้แต่ง
ชื่อเรื่อง
ปีที่พิมพ์
1
จรัญ ชัยประทุม
ผ้าทอหลวงพระบาง : มิติทางวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาทองถิ่น
2556 
2
บุญหนา จิมานัง
ตักบาตรข้าวเหนียวเที่ยวหลวงพระบาง
2556
3
นิราศ ศรีขาวรส
พระพุทธรูปไม้:สุนทรียภาพและความสัมพันธกับวิถีชีวิตคนในเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
2558 
4
อณล ชัยมณี
พัฒนาการของเมืองและรูปแบบสถาปัตยกรรมในหลวงพระบาง ภายใต้อิทธิพลตะวันตกในยุคอาณานิคม
2559
5
กันหา สีกุนวง
ฮางฮดสรง : สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรม และความเชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสักของ สปป.ลาว 

2559
6
ธีรยุทธ อินทจักร์
สุขายะทางรูปทรงในงานสถาปัตยกรรม พระอุโบสถวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง
2560
7
สมัย วรรณอุดร
วรรณกรรมเรื่องพระลักพระลามกับบทบาทในสังคม วัฒนธรรมสองฝั่งโขง
2560
8
นาฏยา ซาวัน
,คะนึงนิตย์ ไสยโสภณ,บุญยัง หมั่นดี
เรื่องเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก หลวงพระบาง สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
2560



จากการศึกษาพบว่าเอกสารประเภทบทความมีความสำคัญในช่วงนี้เป็นอย่างมากโดยส่วนใหญ่นำเสนอเกี่ยวกับศิลปกรรมเเละวัฒนธรรมซึ่งยึดโยงสัมพันธ์กับระบบสังคมของชาวหลวงพระบางในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนวัตถุประสงค์ต่างๆเพื่อให้เข้ากับการท่องเที่ยวการผลิต การเเสดง การฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม ตลอดจนเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งแฝงความเชื่อความศรัทธาดังเดิมโดยผ่านการเเสดงออกในด้านศาสนา เช่นการแกะสลักพระพุทธรูปไม้ ซึ่งพบเห็นเเพร่หลายตามวัดต่างในประเทศลาว และการทำฮางฮอดสรงสำหรับทำพิธีพุทธาภิเษกให้เเก่พระสงฆ์ โดยการผสมผสานระหว่างความเชื่อเรื่องผี สัตว์มงคล พญานาค และอื่นๆ ถูกหลอมลวมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในทางศาสนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมดังเดิมท่ามกลางกระเเสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีผลทำให้อัตลักษณ์ ความศรัทธาแบบดังเดิมเป็นเเปลงไปเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวเเทน การศึกษาในช่วงนี้จะเห็นการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมมีความโดดเด่นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเอกสารประเภทบทความนี้ ซึ่งมีเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและถือเป็นช่วงที่การเขียนบทความเกี่ยวกับหลวงพระบางในบริบทต่างๆมีความรุ่งเรื่องมากขึ้นเรื่อยๆ



เอกสารประเภทวิทยานิพนธ์ 2 เรื่อง ได้เเก่

1.เรื่องประติมาณวิทยาศิลปฮูปแต้มในเมืองหลวงพระบาง ปี พ.ศ.2556 ของ สิปป์ สุขสำราญ
2.เรื่องวงพิณพาทย์หลวงพระบาง:ประวัติ สังคีตและบริบท ปี พ.ศ.2557 ของ ธนวัฒน์ บุตรทองทิม


จากการศึกษาเอกสารประเภทวิทยานิพนธ์พบว่าเป็นการศึกษาในด้านศิลปะวัฒนธรรม โดยอธิบายให้เห็นว่าเมืองหลวงพระบางเป็นเมืองที่มีศิลปวัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นและทรงคุณค่าประกอบกับวงดนตรีสังคตฉบับหลวงพระบางซึ่งสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ผ่านการผสมผสานเสียงเเคน ล้วนเเต่มีประวติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานเคียงคู่กับเมืองหลวงพระบาง  ผ่านการเวลาแห่งการซบเซาและการฟื้นฟูให้กลับมาเคียงคู่กับหลวงพระบางอีกครั้ง อีกทั้งวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางยังมีความผูกพันธ์กับพระพุทธศาสนาเรื่องพุทธประวัติพุทธชาดกที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นเป็นแนวทางสอนมนุษย์ถ่ายทอดในผนังวิหารหลวงโดยมีความมุ่งหมายการสอนธรรมแก่ผู้ไม่รู้หนังสือหรือสังคมพุทธให้ประกอบการทำความดีละเว้นการทำบาป


ประเภทสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเกี่ยวกับเมืองหลวงพระบาง



ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=j4LP45EsNmQ

พบจำนวน 11 เรื่อง ซึ่งเผยแพร่การเป็นเมืองท่องเที่ยวซึ่งอดุมไปด้วยวัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ทั้งยังคงอนุรักษ์ความเป็นพื้นเมืองตลอดจนการผสามผสานทางสถาปัตยกรรมอย่างลงตัวเเละสวยงาม โดยแบบออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้    1สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางในฐานะเมืองท่องเทียว 2 .สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางด้านประเพณี 3.สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางด้านวัฒนธรรม มีดังนี้




1.สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางในฐานะเมืองท่องเทียว

พบวีดีทัศน์ที่นำเสนอเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆทั่วเมืองหลวงพระบางจำนวน 5 ชิ้น

1.รายการเปิดตำนานกับเผ่าทอง 51 ออกอากาศช่อง PPTV HD 36 เผยแพร่ปี พ.ศ. 25582.รายการเปิดเมืองแปลก หลวงพระบาง ออกอากาศช่อง9MCOT HD เผยแพร่ปี พ.ศ. 25583.รายการสมุดโคจร On The Wayหลวงพระบาง ออกอากาศช่อง Ch3Thailand เผยแพร่ปี พ.ศ.25594.รายการเทยเที่ยวไทย พาเที่ยวลาวเหนือ เริ่มกันที่ หลวงพระบาง ออกอากาศช่อง GMMTV เผยแพร่ปี พ.ศ.25595.รายการเปรี้ยวปาก เช็คอิน หลวงพระบาง Maison Souvannaphoum Hotel ออกอากาศช่องpreawpak เผยแพร่ปี พ.ศ.2560

2 .สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางด้านประเพณี

พบวีดีทัศน์ที่นำเสนอเกี่ยวกับประเพณีอันงดงามเมืองหลวงพระบางจำนวน 4 ชิ้นดังนี้

1.รายการหลวงพระบาง เมืองหลวงสงกรานต์แห่งอาเซียน ออกอากาศช่อง วอยย์ทีวี
เผยแพร่ปี พ.ศ. 25572.รายการใกล้ตาอาเซียน-บุญข้าวประดับดิน ออกอากาศช่อง ไทยพีบีเอส เผยแพร่ปี พ.ศ.25573.รายการเปิดตำนานกับเผ่าทอง(หลวงพระบาง) ออกอากาศช่อง พีพีทีวี เผยแพร่ปี พ.ศ.25584.รายการรายงานพิเศษ สรงน้ำพระหลวงพระบาง ออกอากาศช่อง พีพีทีวี เผยแพร่ปี พ.ศ.2558


3.สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอเมืองหลวงพระบางด้านวัฒนธรรม

พบวิดีทัศน์ที่นำเสนอเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเมืองหลวงพระบางจำนวน 2 ชิ้นดังนี้

1.รายการใกล้ตาอาเซียน:ฟื้นฟูนาฏศิลป์หลวงพระบาง ออกอากาศช่องThaiPBS เผยเเพร่ปีพ.ศ.25572.รายการพันแสงรุ้ง ตอนขับทุ้ม ออกอากาศช่องTVThai เผยเเพร่ปีพ.ศ.2552

วีดีทัศน์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองหลวงพระบางส่วนมากจะเป็นการนำเสนอการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่       เพราะหลวงพระบางถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวทั้งด้านสถาปัตกรรม ประเพณี การเเสดง อากหาร วิถีชีวิต ภูมิปัญญาทั้งในเมืองหลวงพระบางและชนบท ซึ่งวีดีทัศน์ส่วนใหญ่จะมีการนำเสนอการท่องเที่ยวที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและประเพณีคตลอกจนอาหาร เช่น วัดเชียงทอง การตักบาตรข้าวเหนียว  บุญปีใหม่ เเข่งเรือ สลัดหลวงพระบาง ข้าวเปียก เเละส้มตำหลวงพระบาง เป็นต้น ประหนึ่งสิ่งเหล่านี้คือจุดขายสำคัญของเมืองหลวงพระบาง จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางในช่วงปีพ.ศ.2551-2555 พบว่า เอกสารส่วนใหญ่เป็นประเภทบทความและสื่อวีดีทัศน์ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะสื่อวีดีทัศน์สามารถที่จะเข้าถึงเเละเผยเเพร่ได้ง่าย โดยสื่อวีดีทัศน์ได้นำเสนอเรื่องราวของเมืองหลวงพระบางในหลากหลายรุปแบบเช่น ประเพณีบุญปีใหม่ การตักบาตรข้าวเหนียว ตลอดจนวัฒนธรรมการฟ้อน การเเสดง การร้อง การลำเป็นต้น โดยยังคงนำเสนอรูปแบบในด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก อาทิ วัดวาอาราม อาหาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเเละสถาปัตยกรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว ในขณะที่เอกสารประเภทบทความเเละวิทยานิพนธ์มีลักษณะคล้ายๆกัน ด้วยการเสนอเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งยึดโยงกับการท่องเที่ยวกระเเสโลกาภิวัฒน์  เพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา เหตุปัจจัยของการเปลี่ยนเเปลงต่างๆ ตลอดจนการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับบริบทในปัจจุบันของชาวหลวงพระบาง ซึ่งสามารถเห็นความเเตกต่างในรายละเอียดของเอกสารเเต่ละประเภทที่ยังมีความเเตกต่างกันอยู่นั้นเอง






สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอเเนะ 





         การสำรวจเอกสาและสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงพระบางตั้งเเต่ปีพ.ศ.2540-2562  สรุปได้ว่า มีเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ประกอบด้วย หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร งานวิจัย และวิดีทัศน์ พบว่า ในช่วงปีเเรกเริ่มตั้งเเต่พ.ศ.2540 เป็นต้นมา เอกสารทั้งหมดเป็นประเภทหนังสือมี 3 ประเด็นได้เเก่ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวและสถาปัตยกรรม ในช่วง5ปีต่อมาเรื่องตั้งเเต่พ.ศ.2546 เป็นต้นมา เอกสารประเภทหนังสือยังคงมีอิทธิพลและเอกสารประเภทวารสารเริ่มปรากฏความสำคัญขึ้นโดยประเด็นด้านการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากกว่าด้านประวัติศาสตร์ ช่วงต่อมาเริ่มในพ.ศ.2551 ถือเป็นช่วงเริ่มการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญระหว่างหนังสือเเละบทความ โดยบทความได้รับความสนใจต่อกการเขียนมาขึ้นรวมถึงงานวิจัยโดยเฉพาะประเด็นด้านการเป็นเมืองมรดกโลก การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างเมืองหลวงพระบางเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ในขณะที่หนังสือยังคงเสนอประเด็นด้านประวัติศาสตร์แต่สะท้อนในรูปแบบหลากหลายมิติ การวิเคราะห์ อธิบายซึ่งเเตกต่างจากช่วงปีเเรกๆและช่วงสุดท้ายเรื่องตั้งเเต่พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเอกสารประเภทบทความมีอิทธิพลต่องานศึกษาเมืองหลวงพระบางเป็นอย่างมากซึ่งเป็นการศึกษาประเด็นด้านศิลปะวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกระเเสโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายจากรูปแบบดังเดิมเป็นสมัยปัจจุบันของชาวหลวงพระบาง อีกทั้งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านวีดีทัศน์โดยทียังเสนอรูปเเบบเมืองแห่งการท่องเที่ยว ทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และธรรมชาติ เป็นหลัก โดยเป็นการสะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความน่าสนใจ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานเพราะเคยเป็นราชธานีแห่งเเรกของอาณาจักรล้านช้าง อีกทั้งวัฒนธรรม ประเพณี สถาปัตยกรรมศิลปกรรม วิถีชีวิติของผู้คนและธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2538 ทำให้การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางมีการเติบโตเป็นอย่างมากดังจะเห็นได้จากเอกสารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในยุคหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนมีจำนวนมากขึ้น เมืองหลวงพระบางในฐานะเมืองท่องเที่ยวยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงและการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของการท่องเที่ยว การปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแห่งการท่องเที่ยวประกอบกับกระเเสโลกาภิวัตน์ซึ่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมยังถือว่าเป็นจนเด่นในการท่องเที่ยวของเมืองหลวงพระบางภายใต้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา เช่น พระอาราม อุโบสถ์ พระราชวัง เจดีย์ อาคารบ้านเรื่อน ตลอดจนประเพณี วรรณกรรม การฟ้อน การร้องการลำ เป็นต้น ซึ่งเเสดงถึงการมีอัตลักษณ์อันโดดเด่น งดงามและมีเสน่ห์ยิ่งนัก   นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆที่น่าสนใจ ที่ยังไม่มีการศึกษาเช่น องค์พระบาง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำเมือง และกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจบริบทของเมืองหลวงพระบางมายิ่งขึ้น






ข้อเสนอเเนะ




จากการศึกษาเมืองหลวงเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เเตกต่างหลากหลาย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเเค่ในตัวเมืองหลวงพระบางเท่านั้น ซึ่งการนำเสนอการท่องเที่ยวยังมีรูปแบบคล้ายๆกัน ผู้ศึกษาจึงเสนอให้มีการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่เช่น การท่องเที่ยวในชุมชุน ธรรมชาติ และการพจนภัย เพื่อให้งานมีความแปลกใหม่เเละน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งงานศึกษาควรจะมีการจัดระบบการนำเสนอให้เป็นหมวดหมุ่เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจง่ายขึ้นเอกสารที่เกี่ยวของกับเมืองหลวงพระบางนี้ผู้เสนอยังไม่สามารถเสนอได้ครบทุกประเด็นโดยเฉพาะประเด็นด้านสังคม ซึ่งเป็นประเด็นที่น่สนใจอีกประเด็นหนึ่ง เช่นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเติมเต็มให้งานชินนี้สมบูรณ์มากขึ้นประวัติศาสตร์หลวงพระบางนอกจากจะมีในการบันทึกแล้ว ยังถูกกล่าวถึงในตำนานเรื่องเล่าเเละนิทานต่างๆ อาทิ ขุนบรม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง และตำนานอุรงคธาตุ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนเติมเต็มให้เอกสารมีความน่าสนใจและได้เห็นมุมมองประวัติศาตร์อีกด้านหนึ่งจากตำนานเหล่านี้










บรรณานุกรม


กษม อมันตกุล.2554.การออกแบบสัญลักษณ์ในเมืองมรดกโลก หลวงพระบาง และอัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2(2),118-138.กันหา สีกุนวง.(2559). ฮางฮดสรง:สื่อสัญลกัษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความเชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงจ าปาสักของ สปป.ลาว.วารสารศิลกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยขอนแกน่ ,8(2),60-77. กุลศรี สุริยเดซสกุล เบญวรรณ ทัศนสีลพรเเละวาริน จันทศรี.(2547).ท่องมนต์เสน่ห์หลวงพระบาง.อีสานสถาปัตย.13(2),44-45จรัญ ชัยประทมุ.(2556).ผ้าทอหลวงพระบาง:มิติวัฒนธรรมและภูมิปัญญาทอ้งถิ่น.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,8(2),129-155.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.(2555).ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.ธนวัตน์ บุตรทองทิม.(2558).วงพิณพาทย์หลวงพระบาง:ประวัติ สังคีตลักษณ์และบริบท.(วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น)ธีรยุทธ อินทจักร์.(2560).สุขายะทางรูปทรงในงานสถาปัตยกรรมพระอุโบสถวัดเชียงทอง เมืองหลวพระบาง. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม,4(2),2-19.นาฏยา ซาวัน,คะนึงนิตย์ ไสยโสภณและบุญยัง หมั่นดี(2560).เรื่องเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก หลวงพระบางสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารมนุษยศาสตร์และสงัคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏสุรินทร์, 19(2), 81-96.นิราศ ศรีขาวรส.(2558).พระพุทธรูปไม้:สุนทรียภาพและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนในเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,7(2),17-40.บุญช่วย ศรีสวัสดิ์(2547).ประวัติศาสตร์ลาว.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์สยาม.บุนกอง พวงสะหวัน.(2554).ปเู่ญอ ย่าเญอ : การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมพื้นเมืองหลวงพระบาง อันเกี่ยวเนื่อง จากอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว.ปริญญานพินธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. สุรินทร์.บุญหนา จิมานัง.(2556).ตักบาตรข้าวเหนียวเที่ยวเมืองลาว. ธรรมทรรศน์,13(2),55-58. ปณธาดา ราชกิจ.(2554).หลวงพระบาง คู่มือท่องเที่ยวลาวด้วยตนเอง.กรุงเทพฯ: วงกลม.มหาคำ จำปาแก้วมณี .(ม.ป.ป.).ประวัติศาสตร์ลาว.คณะมนุษศาสนตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.มาร์ติน สจ๊วต ฟอกซ์.( 2553).ประวัติศาสตร์ลาว.กรุงเทพฯ.มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.ล้อม เพ็งแก้ว.(2544).ออนซอนหลวงพระบาง.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์สายธารสมัย วรรณอุดร.(2560).วรรณกรรมเรื่องพระลักพระรามกับบริบทในสังคมวัฒนธรรมสองฝั่งโขง.แพรวากาฬสินธ์ุ.4(1),154-171.สมิทธิ ธนานิธิโชติ.(2547).หลวงพระบาง:บางสิ่งไม่เคนเปลี่ยนไปใจไม่เคยเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์สายธาร.สิปป์ สุขสำราญ.(2556).ประติมาณวิทยาฮูปแต้มในเมืองหลวงพระบาง.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).สีลา วีรวงศ์.(2540).ประวัติศาสตร์ลาว พิมพ์ครั้งที่3 สำนักพิมพ์มติชน กรุงเทพฯสุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์.(2544).จากหลวงพระบางถึงเวียงจันทน์.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์สายธารเสรี ตันศรีและอรณี เเน่นหนา.(2344).สบายดีหลวงพระบาง.นนทบุรี.สำนักพิมพ์ธารบัวแก้วศรัณย์ บุญประเสริฐ.(2548).คู่มือนำเที่ยวหลวงพระบาง.โรงพิมพ์กรุงเทพ:กรุงเทพฯศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2552). หลวงพระบาง:การเปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองมรดกโลก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยและพัฒนา, 1(1),84-104.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์.(2553).หลวงพระบางในจักรวาลวิทยาแบบรัฐจารีต:พื้นที่พิธีกรรมและกระบวนการ กลายเป็นราชธานีของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง.วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน,1(2),43-68. อณล ชัยมณี.(2559).พัฒนาการของเมืองและรูปแบบสถาปัตยกรรมในหลวงพระบางภายใต้อิทธิพลตะวันตกใน ยุคอาณานิคม.วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,15(2),33-52.อู่คำ พมวงศา.(ม.ป.ป.).ประวัติศาสตร์ลาว.คณะมนุษศาสนตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Ch3Thailand.(2559).สมุดโคจร On The Way | หลวงพระบาง ตอนที่ 1. 20/10/2562..https://www.youtube.com/watch?v=V_O9u9vkQaI  Ch3Thailand.(2559).สมุดโคจร On The Way | หลวงพระบาง ตอนที่ 2. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=t2O3zS8F1u8 GMMTV.(2559).เทยเที่ยวไทย The Route | ตอน 239 | พาเที่ยวลาวเหนือ เริ่มกันที่ หลวงพระ บาง.20/10/2562. https://www.youtube.com/watch?v=4kRSEf-E4A0&t=2474s MCOT HD.(2558).รายการเปิดเมืองแปลก-หลวงพระบางตอนที่ 1. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=E2TyzwRUoWQ MCOT HD.(2558).รายการเปิดเมืองแปลก-หลวงพระบางตอนที่ 2. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=fQ33zrjl2dA PPTV HD 36.(2558).เปิดตำนานกับเผ่าทอง 51.1. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=oCYs-62LpbM PPTV HD 36.(2558).เปิดตำนานกับเผ่าทอง 51.2. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=ffUZ0EQjk_k PPTV HD 36.(2558).เปิดตำนานกับเผ่าทอง 51.3. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=v1_bUs88jro 

PPTV HD 36.(2558).เปิดตำนานกับเผ่าทอง 51.4.20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=OuMzm2HZcFc
PPTV HD 36(2558)เปิดตำนานกับเผ่าทอง(หลวงพระบาง)57.20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=MJBXsm3U5lI
preawpak .(2560).เปรี้ยวปาก เช็คอิน | 3 ธันวาคม 2560 | EP49 | หลวงพระบาง | Maison Souvannaphoum Hotel | HD. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=0OF34PaOViY
ThaiPBS.(2557). ใกล้ตาอาเซียน : บญุข้าวประดับดิน. 20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=ZeRcbrnpZcY
ThaiPBS.(2557).ใกล้ตาอาเซียน : ฟื้นฟูนาฏศิลป์หลวงพระบาง  หลวงพระบาง เมืองหลวงสงกรานต์แห่งอาเซียน.https://www.youtube.com/watch?v=tEnaN7Jmmtg
TVThai.(2552).พันแสงรุ้ง ตอนขับทุ้ม.20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=tvpXChGV5Xg
Voice TV(2557)หลวงพระบาง เมืองหลวงสงกรานต์แห่งอาเซียน.20/10/2562.https://www.youtube.com/watch?v=FqaCwCaNSp0&t=160s












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น