หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วัดองค์ตื้อมหาวิหาร

    


ที่มา:https://www.travel-pictures-gallery.com/laos/vientiane/vientiane-0025.html

      ประเทศลาวนับว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีอังงดงาม ภายใต้ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาที่หล่อหล่อมจิตใจ และศิลปะวัฒนธรรมของประชาชนชาวลาว สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมอันสวยงาม ดั่งเช่น พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ มีอายุกว่า 450 ปี นับว่าเป็นสิ่งศักดิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลาว ผ่านกาลเวลาเเละเหตุการณืต่าง ๆ มากมาย จนหลงเหลือเป็นมรดกล้ำค่าให้เราได้เห็นในปัจจุบัน



   วัดองค์ตื้อมหาวิหาร( ວັດອົງຕື້ ມະຫາວິຫານ )สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2109 หลังจากที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สร้างเมืองเวียงจันมาแล้ว 6 ปี เดิมวัดองค์ตื้อมีชื่อว่า "วัดสีภูมิ หรือ ไชยภูมิ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มาสร้างพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นแล้วนำมา ประดิษฐานไว้ในวัดสีภูมิแห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดองค์ตื้อ" ตามชื่อของพระพุทธรูปใหญ่  

ที่มา:https://www.touronthai.com/travelguide/placeinfo.php?id=43340


  ในปัจจุบันนี้วัดมี่พระอุโบสถใหญ่อยู่ 1 หลัง กว้าง 16 เมตร 34 เซนติเมตร ยาว 40 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร ประดับตกแต่งด้วยศิลปะเเบบล้านช้าง โดยมีหลังคาลดหลั่นซ้อนชั้นประดับด้วยหางหงส์ โหง่ และช่อฟ้า 9 ชั้น อันเป็นการเเสดงฐานะของวัดที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ หน้าบันตกเเต่ด้วยลวดลายไม้แกะสลักสวยงาม และรวงพึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศิลปะเเบบล้านช้าง ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน

  

ที่มา:https://www.blogger.com/blog/post/edit/

  พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ 

ที่มา:https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-Wat_Ong_Teu-Vientiane_Vientiane_Prefecture.html

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2109 โดย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ซึ่งสร้างจากทองเหลือง  มีน้ำหนัก1 ตื้อหรือเท่ากับ 1,000-1,200 กิโลกรัม มีหน้าตักกว้าง 3 เมตร 40 เซนติเมตร สูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังสร้างพร้อมด้วย พระสุก พระใส พระเสริม


ที่มา:https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g


วัดองค์ตื้อได้รับภัยจากสงครามถึง 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2127 ในรัชกาลของพระสุรินทลือไชย(จัน) พม่าเข้ามาตีนครหลวงเวียงจันทน์ได้สำเร็จพร้อมทั้งเผาทำลายวัดวาอาราม วัตถุมีค่า  รวมถึงวัดองค์ตื้อ

ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2322 ในรัชกาลพระเจ้าสิริบุยสาร สยามได้เข้ามารุกรานครั้งที่ 1

ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2370 ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับทำลายเผาผลาญนครหลวงเวียงจันทน์ จนเป็นเถ้าถ่านไปทั้งเมืองและวัดองค์ตื้อ พร้อมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้

ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2416 โจรฮ้อ ได้เข้ามาปล้นสะดมขุดค้นเอาวัตถุมีค่าไปจนหมดในนั้น รวมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อด้วย


วัดองค์ตื้อได้รับการบูรณะในปี พ.ศ.2454-2455  ในทุกส่วนของโบสถ์เช่น เสา ฝาผนัง หลังคาที่เราเห็นในปัจจุบัน คือเป็นการสร้างขึ้นใหม่โดยรักษาโครงสร้างเดิมไว้ทั้งหมด บานประตูทั้ง 3 บาน ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา นำมาถวายในปี พ.ศ.2509   ออกแบบรูปภาพโดย เจ้ามณีวงศ์ ขันติยะราช (ทิดตัน )สุวรรณภูมิ เป็นผู้แกะสลักลวดลายซึ่งเป็นช่างจากพระราชวังหลวงพะบาง



                          ที่มา:https://udon2laos.com/เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

นอกจากนี้ ทางด้านข้างพระอุโบสถ ได้จัดสร้างลานเสาอะโศกะจำลองขึ้นที่ลานข้างหอระฆัง มีการจัดสวนออกแบบสวยงาม กลายเป็นแลนด์มาร์คสำหรับถ่ายรูปเป็นที่ระลึกของนักท่องเที่ยวทั่วไป ยามมาเยือน

ที่ตั้ง:ตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา เเขวงเมืองเวียงจันทน์  อยู่ห่างจากหอพระแก้วมาทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร

อัตราค่าเข้าชม: สามารถเข้าชมได้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด

การเดินทาง:รถเเท๊กซี่ รถสามล้อ รถประจำทาง

เปิดให้บริการ: 8.00-17.00น.


ที่มา:https://udon2laos.com//เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

วัดองค์ตื้อเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวียงจันทน์ และมีชื่อเสียงมากที่สุด รวมทั้งเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน ผ่านภันสงครามและการทำลายล้างหลายครั้งหลายครา เเต่วัดก็ยังได้รับการบรูณะขึ้นมาใหม่ทุกครั้งด้วยเเรงศรัทธาของประชาชนชาวลาวที่มีต่อพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อันเป็นสิง่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเเละเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน ทำให้วัดองค์ตื้อถูกสร้างให้กลับมาสวยงามดังเดิม ตามรูปแบบศิลปะล้านช้างเเต่เดิมมา  ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์รูปแบบเฉพาะตัว ตกแต่งด้วยสีสันต์และลวดลายที่งดงามสมดังเป็นวัดคู่บ้านคูเมืองลาวอีกแห่งหนึ่งเเละยังเป็นมรดกอันลำค่าของชาวลาวอีกด้วย



อ้างอิง

Moonfleet Asia.(2560).Wat Ong Teu.สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563.จากhttp://moonfleetasia.blogspot.com/2017/07/13072560-wat-ong-teu-vientiane-laos.html

ม.ป.ต.(2557).วัด องตื้อมหาวิหาร เวียงจันทน์ สปป.ลาว.สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563.จาก https://udon2laos.com/เรื่องควรรู้เกี่ยวกับก/วัดองตื้อ-มะหาวิหาน/

tripadvisor.(2561).วัดเก่าแก่ในเวียงจันทน์.สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จากhttps://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g293950-d8750559-i272521796-Wat_Ong_Teu-Vientiane_Vientiane_Prefecture.html

tripdeedee.(ม.ป.ป.). วัดองค์ตื้อวรวิหาร ในนครหลวงเวียงจันทน์.สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จาก https://www.tripdeedee.com/Laos/watongteu.php

นิววิว..(ม.ป.ป.).วัดองค์ตื้อมหาวิหาร (Wat Ong Teu)..สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จากhttp://www.newviewtour.com/แลนด์ทัวร์/แลนด์ทัวร์ต่างประเทศ/แลนด์ลาว/158-ข้อมูลทัวร์ต่างประเทศ-ประเทศลาว/สถานที่ท่องเที่ยว-ประเทศลาว/1344-วัดองค์ตื้อมหาวิหาร-ลาว.html

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ชเวนันดอว์ จากอดีตวังหลวงสู่วัดแห่งสถาปัตยกรรมสุดอลังการ

ที่มา:https://www.pinterest.com/pin/423831014908536957/?nic_v2=1a6C47usA

     

       ประเทศเมียนมาร์ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน อีกทั้งการสั่งสมศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตอันงดงาม ภายใต้เเรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมียนมาร์มาเป็นเวลาช้านาน เราจึงได้เห็นสถาปัตยกรรม วัด เจดีย์ พระพุทธรูปจำนวนมาก ต่างมีความสวยงามและเเปลกตาล้วยเเล้วเเต่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างประณีตจากฝีมือช่างพร้อมด้วยจิตศรัทธาในพระศาสนา ดังเช่น วัดชเวนันดอร์ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสวยงามด้วยการเเกะสลักไม้อันเป็นสุดยอดแห่งฝีมือ อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังยืดหยัดก้าวผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ เคียงคู่กับชาวเมียนมาร์  จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พร้อมด้วยความงดงามที่น่าตื่นตาตื่นใจ  


ที่มา:http://burma-travel.blogspot.com/2014/07/shwe-nandaw-kyaung.html


  วัดชเวนันดอว์  (Shwenandaw Kyaung หรือ Golden Palce Monestery) สร้างในปี 2400 โดยพระเจ้ามินดง ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ามินดง ตั้งอยู่ในพระราชวังมัณฑะเลย์ หลังจากที่พระองค์สวรรคตที่พระตำหนักหลังนี้ในปี 2421  พระเจ้าสีป่อ (ติบอ) พระราชโอรส ทรงโปรดให้รื้อนำไปถวายวัดที่อยู่ภายนอกพระราชวังในปี 2423 ตามที่พระเจ้ามินดงรับสั่งไว้ก่อนสวรรคต เรียกกันว่า วัดมณเฑียรทอง” หรือ ชเวนันดอว์จอง ซึ่ง พระเจ้าสีป่อทรงใช้อารามนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมส่วนพระองค์ ภายหลังจึงได้ถวายให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ และได้จัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี ไปเมื่อปี พ.ศ.2522


    วิหารแห่งนี้เป็นอาคารไม้แกะสลักจากไม้สักทองทั้งหลัง ลักษณะเป็นหลังคาทรงปราสาท 5 ชั้นซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างมัณฑะเลย์ ซึ่งคำว่า “ชเวนันดอว์” แปลว่า วิหารไม้สีทอง ในสมัยก่อนวิหารแห่งนี้เคยหุ้มด้วยทองประดับกระจกสีทั้งภายในและภายนอก แต่เวลานี้ทองได้หลุดลอกออกหมด แต่ยังเหลือให้เห็นอยู่บ้างจะเป็นบริเวณเพดานจากการปิดทองคำเปลวลงบนไม้ที่ได้สลักลวดลายสวยงามร่องไม้เป็นสีชาด (สีแดง)  ภายในวิหารมีพระประธานปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงตำแหน่งเดิมของพระราชบัลลังก์เดิม  เสาภายในวิหารมากมายหลายต้นเป็นไม้สักต้นเดียวสูงกว่า 10 เมตร  นอกจากนี้ฝาผนังยังสลักเรื่องราวพุทธชาดกประดับไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะทศชาติ 

ที่มา:http://www.namfapakhao.com/mandalay-bagan-inle/mandalay-024/


ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายพระราชวังจนราบคาบ เนื่องจากทหารญี่ปุ่นยึดพระราชวังมัณฑะเลย์เป็นค่ายทหาร ทำให้พระราชวัง พระที่หนัง พระตำหนักน้อยใหญ์ถูกไฟไหม้เสียห่ยจนหมดสิ้น  วิหารชเวนันดอว์จึงนับเป็นสิ่งก่อสร้างของพระราชวังมัณฑะเลย์ที่เหลือเพียงแห่งเดียว ที่พอจะให้เห็นความยิ่งใหญ่อลังการของพระราชวังมัณฑะเลย์ในยุคนั้น

ที่มา:https://www.jensen-giehler-fotografie.de/foto-galerie/unterwegs-auf-reisen/myanmar/

จุดเด่นของที่นี่คือ

    งานไม้แกะสลักที่สวยงาม ประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักที่เป็นรูปเทวดาต่างๆ วิจิตรงดงาม มีอายุมากกว่า100 ปี ความอลังการ ความงดงาม และความวิจิตรบรรจงของฝีมือช่างหลวง

อัตราค่าเข้าชม

คนละ 10,000 จัต  สามารใช้เป็นบัตรเข้าชมพระราชวังมัณฑะเลย์ได้อีก 

ข้อห้าม

  • ควรแต่งกายให็สุภาพเรียบร้อย
  • เมื่อขึ้นไปบนวิหารต้องถอดรองเท้าไว้ด้านล่าง


    วัดชเวนันดอว์นับว่าเป็นยอดแห่งศิลปะการเเกะสลักไม้ที่สวยงาม ยิ่งใหญ่ อลังการ ของงานช่างฝีมือของเมียนมาร์แสดงถึงความประณีตและความเอาใจใส่ ตลอดจนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความจงรักภักดีต่อองคืพระมหากษตริย์ เป็นการเเสดงให้เห็นถึงมรดกอันมีคุณค่าจากบรรพชนที่ส่งต่อมายังคนรุ่นหลังให้ได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์งานประณีตศิลป์และสืบสานความศรัทธาในบวรพุทธศาสนาสืบไป





อ้างอิง

Angel Star Travel.(2020).วัดชเวนันดอว์.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttps://www.angelstartravel.com/content-detail.php?data=ชเวนันดอว์.html



Tripadvisor.(2015).วิหารไม้สักทองชเวนันดอว์.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จาก https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g295408-d552343-i156939028-Shwenandaw_Monastery-Mandalay_Mandalay_Region.html

เที่ยวพม่า.(2013).วิหารชเวนันดอร์ หนึ่งเดียวที่เหลือลอด.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttp://burma-travel.blogspot.com/2014/07/shwe-nandaw-kyaung.html
 
Supawan.(2010).พระราชมณเฑียรทอง ชเวนันดอว์ … Golden Palace.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563. จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2010/09/13/entry-1

wonderfulpackage.(ม.ป.ป.).วัดเก่าโบราณ วิหารไม้สักทอง วัดชเวนันดอว์ แห่งพม่า.

สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จากhttps://www.wonderfulpackage.com/article/v/938/