หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

วัดพระแก้วมรกตแห่งแผ่นดินกัมพูชา

     

ที่มา:http://markettourcenter.com/package_detail.php?pkno=4754&countryid=07251


      ประเทศกัมพูชานับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนชาวกัมพูชาให้ความเคารพและใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวมาช้านาน ศาสนาพุทธมีความสำคัญและผ่านช่วงเวลาเเห่งความวุ่นวายทางการเมืองเป็นเวลายาวนานเช่นกัน แต่เเรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ยังคงเเกร่งกล้าภายในจิตใจประชาชน จึงก่อเกิดงานศิลปะอันงดงามและความเชื่อความศรัทธาต่อองค์พระเเก้วมรกต อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธกัมพูชา " วัดอุโบสถรตนาราม "จึงเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินกัมพูชาตลอดมา

ที่มา:https://www.khaosod.co.th/lifestyle/travel/news_2364217


         วัดอุโบสถรตนาราม (เขมร: វត្តឧបោសថរតនារាម) เรียกสั้น ๆ ว่า " วัดพระแก้วมรกต " หรือ “ วิหารเงิน”  เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมราชวังราชวังจตุมุขมงคล พระราชวังหลวงของกรุงพนมเปญ ซึ่งมีสถานะเป็นวัดหลวง ใช้เป็นที่รักษาอุโบสถศีลในวันอุโบสถของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางประกอบพิธีต่างๆ ทางพุทธศาสนาและราชสำนัก จึงไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ซึ่งภายในวิหารยังปูพื้นด้วยแผ่นเงินกว่า5,392 แผ่น  แต่ละเเผ่นหนัก 1 กิโลกรัม อันเป็นที่มาของชื่อเรียกวิหารเงิน นั่นเอง

      วัดเเห่งนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร  ออกแบบโดยออกญาเทพนิมิต (รส) และสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อ Alavigne ช่วยดูแลความถูกต้องในการสร้าง อีกทั้งช่างเขมรเป็นผู้ก่อสร้างและประดับตกแต่ง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 – 2445 มูลค่าในการสร้างกว่า 500,000 เรียล เมื่อแล้วเสร็จจึงมีพิธีสมโภชในปี พ.ศ. 2446  ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระนโรดมสีหนุ จึงได้มีการบูรณะอีกครั้ง ในปี 2505 – 2513


ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/01/K10093804/K10093804.html

      พระวิหารพระแก้วมรกตถือเป็นอาคารหลักของวัด พระวิหารหลังนี้มีหลังคาเป็นทรงจตุรมุขซ้อนชั้นลดหลั่นกัน ประดับช่อฟ้า ใบระกา เเละหางหงส์  สอดรับกับเสาอาคารที่เป็นทรงกลม หน้าบันประดับศิลปะปูนปันลายสัญลักษณ์ราชวงศ์กัมพูชา 

ที่มา:https://www.facebook.com/442993079227558/photos/


   

 สิ่งสำคัญของวัดอุโบสถรตนาราม คือพระแก้วมรกต ประดิษฐานในบุษบกกลางอุโสถ หล่อขึ้นจากแก้วคริสตัลสีเขียวจากฝรั่งเศส  

“กลางพระอุโบสถ มีฐานชุกชีตั้งบุษบกรองพระแก้วที่ห้างปักกะราต์ฝรั่งเศส ข้อนี้ทราบมานานแล้ว มาได้ความรู้เพิ่มเติมเมื่อเห็นตัวจริงว่าตั้งใจจะจำลองให้เหมือนพระแก้วมรกตที่ในกรุงเทพฯ สมเด็จพระนโรดมเห็นจะให้ไปสืบและวัดมาดู ได้ขนาดเท่ากัน แต่รูปสัณฐานนั้นผิดกันห่างไกล สีแก้วมรกตที่ฝรั่งหล่อเขียวใสเป็นอย่างขวดเขียวสี่เหลี่ยม ที่มักใช้ใส่น้ำอบกันแต่ก่อน เครื่องประดับก็ทำแต่ทองครอบพระเกตุมาลา และติดรัศมีต่อขึ้นไปสองข้างบุษบก ตั้งลับแลแบ่งปันที่เป็นข้างหน้าในอย่างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ…” โดย กรมพระยาดำราราชานุภาพ

   อีกทั้งพระชินรังสีราชิกนโรดม ประดิษฐานในตู้กระจก ตั้งอยู่หน้าฐานชุกชีพระเเก้วมรกต  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ สร้างด้วยทองคำหนักถึง 90 กิโลกรัม ประดับเพชรพลอย 2,086 เม็ด เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดอยู่ที่มงกุฎมีขนาดถึง 42 กระรัต 


 เจดีย์บรรจุพระอัฐิของบูรพกษัตริย์

ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

    มีเจดีย์สำคัญ 2 องค์ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของพระวิหาร องค์แรกเป็นพระเจดีย์ทรงระฆังบนฐานย่อมุมไม้ ตกเเต่งด้วยศิลปะลายปูนปั้น  ใช้บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต ส่วนอีกองค์เป็นปรางค์ตามแบบปราสาทบันทายศรีเรียกว่า ‘ปรางค์คันธบุปผา’ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ใช้บรรจุอัฐิของพระองค์เจ้าหญิงนโรดมคันธบุปผา 

ที่มา:https://blog.bangkokair.com/



ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

พระรูปมหินทสุวรรณสนองพระองค์ประทับอัสสพงศ์ 


ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/
      

    พระบรมรูปของสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2418  มีลักษณะพระบรมรูปทรงม้าในเครื่องแบบทหารตะวันตก ซึ่งเป็นของที่ระลึกจากพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส


ภาพจิตรกรรมฝาผนังระเบียงคต

ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/


เรื่อง “รามเกร์” หรือ รามายณะ นับเป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อศิลปวัฒนธรรมเขมรในทุกๆ ด้าน เขียนขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2446-2447 ซึ่งมีเนื้อเรื่องลำดับตั้งแต่ต้นจนจบโดยเนื้อหาแบ่งเป็นช่อง เป็นตอนเช่น  ตอนหนุมานจองถนน  นางสีดาลุยไฟ   นางเบญจกายแปลง 



ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/


ที่มาhttps://blog.bangkokair.com/

แบบจำลองของปราสาทนครวัด ตั้งอยู่ด้านหลังของพระวิหาร


ที่มา:https://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

      นอกจากนี้ยังมีมณฑปพระไตรปิฎก พนมมณฑป   รูปปั้นโคนนทิโบราณศิลปะเขมรโบราณ วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทลายมงคล 108 ประการ และวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท 


ที่มา:
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/08/K11005879/K11005879.html



การเข้าชม 

- เปิดบริการทุกวัน ตั้งเเต่ เวลา 08.00-17.00 น. แบ่ง 2 ช่วง คือ 08.00 – 11.00 น.และ 14.00 – 17.00 น. (ปิดเฉพาะช่วงมีพระราชพิธีสำคัญทางศาสนา)

- อัตราค่าเข้าชมประมาณ 7 USD รวมกับค่าเข้าชมกับพระบรมราชวัง  

- ฤดูที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์) 

การเดินทาง 

 รถตุ๊กตุ๊ก ประมาณ 2-4 ดอลล่าห์สหรัฐ (USD) หรือเหมาเที่ยวทั้งวันประมาณ 20 ดอลล่าห์สหรัฐ (USD)

รถแท็กซี่ ตามบริการมิเตอร์ค่าโดยสาร 


     วัดอุโบสถรตนารามนับเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าและมีความสวยงามด้วยศิลปะวัฒนธรรมตลอดจนว่าเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวกัมพูชา อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ท่องเที่ยวที่สวยงามบ่งบอกที่ประวัติศาตร์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม ฉะนั่นเเล้ว สถานที่แห่งนี้จึงไม่ควรพลาดที่จะมาเยียมชมและดื่มด่ำกับบรรยาการอันเงียบสวบ ท่ามกลางความงดงามแห่งศิลปะทางศาสนา



อ้างอิง

พาลันลา(2020).วัดพระแก้วมรกต (วิหารเงิน) เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=266

ศิลปะ(2020).“พระแก้วมรกต” ในพระราชวังหลวงที่พนมเปญต่างกับไทยไหม วัสดุในพระวิหารมูลค่าเท่าใด.สืบค้นเมื่อวันที่15 กันยายน 2020 จากhttps://www.silpa-mag.com/art/article_26843

Matichon(ม.ป.ป. )ามเกร์-รามเกียรติ์ ที่พระราชวัง “จตุมุข” กรุงพนมเปญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://www.matichonacademy.com/content/culture/article_36740

The Cloud (2019).วัดพระแก้วเมืองพนมเพญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://readthecloud.co/silver-pagoda-phnom-penh-cambodia/

กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร (2017). ตำนานพระแก้วมรกต กรุงกัมพูชา.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020 จากhttps://www.nuac.nu.ac.th/v3/?p=2728