หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

พรหม 4 หน้า หลังคาทอง " พระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล "

 




ที่มา:http://markettourcenter.com/package_detail.php?pkno=4754&countryid=07251


          ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน บรรพบรุษได้สร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ของโลกอันเเสดงถึงความรุ่งเรื่องของศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตกรรม ฝีมือช่างขอมโบราณประดิษฐ์งานศิลป์อันยิ่งใหญ่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเเละมรดกอันล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ นอกจากศิลปะอันงดงามของฝีมือช่างศิลป์โบราณแล้ว ฝีมือช่างในยุคต่อมาของประเทศกัมพูชาได้มีการพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นศิลปะที่ประดับพระราชวังอังสวยงาม  " พระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล " ที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ศูนย์กลางความเคารพและศรัทธาของประชาชนชาวกัมพูชาทั้งมวล

ที่มา:https://sara-asean.weebly.com





ที่ตั้ง


   พระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล ตั้งอยู่บนถนนโซะเทียะรึต ทางตอนใต้ของพิพิธภัณฑ์สถานเเห่งชาติ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา


ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/08/K11005879/K11005879.html




 ประวัติ
       
        พระราชวังสร้างขึ้นในปี 1866 ในรัชสมัยสมเด็จพระนโรดม ตามแบบศิลปะเขมร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในการก่อสร้าง พระราชวังตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเเม่นำ 4 สายของแม่น้ำโขง เรียกว่า " จตุมุข " ใช้เป็นที่ประทับของพระมหาษัตริย์เเละราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา มีชื่อเรียกว่า  " เปรี๊ยะบรมเรียเชียงแวงจักตุมุก" ภายในพระราชวังประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง วัด เเละเขตพระราชฐานที่ประทับ หมู่อาคารพระคลังหลวง 


ที่มา:https://cambodia-travelpartner.com/phnom-penh/phnom-penh-royal-palace/



พระที่นั่งจันทร์ฉายา

        เป็นพระที่นั่งรูปแบบศาลาโถง ตั่งอยู่บริเวณกำแพงพระราชวัง มีมุขระเบียงยื่นออกจากตัวพระที่นั่ง สามารถมองเห็นภายนอกได้อย่างสะดวก พระที่นั่งองค์ปัจจุบันสร้างขึ้นเป็นครั้งที่สอง แทนองค์ที่สร้างตั้งตั้งเเต่รัชสมัยสมเด็จพระศรีสุวัตถิ์ บนฐานและรูปแบบเดิม พระที่นั่งจันทร์ฉายาใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรขบวนแห่และนาฎศิลป์หลวงในพิธีสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพิธีขึ้นครองราชย์และพิธิเฉลิมฉลองต่างๆ

ที่มา:https://sinhcafetravel.com/news/voyeuristic-with-silver-pagoda-and-royal-palace-in-cambodia


พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย
  
          พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่กลางหมู่พระที่นั่งอื่นๆ หันไปสู่ทิศตะวันออก สร้างขึ้นในปี 1917 ตามรูปแบบศิลปะเขมรผสมกับศลปะเขมรโบราณตาแบบปราสาทบายนที่เมืองพระนคร โดยมีลักษณะผังเป็นรูปกากบาทประกอบด้วยยอดปราสาท 3 ยอด ปราสาทยอดกลางสูง 59 เมตรประดับด้วยพรหมพักตร์ 4 หน้า ภายในเป็นท้องพระโรงกว้าง 30×60 เมตร เป็นที่ตั้งของราชบัลลังก์และรูปปั้นบูรพกษัตริย์แห่งกัมพูชา และมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ พระที่นั่งเทวาวินิจฉัยใช้เป็นที่สำหรับงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิเช่น พระราชพิธิครองศิริราชสมบัติ  พระราชพิธีอภิเษกสมรส  เสด็จออกรับสาส์นตราตั้งจากเอกอัครราชฑูตของต่างชาติ เเละต้อนรับเเขกบ้านเเขกเมือง

ที่มา:https://sinhcafetravel.com/news/voyeuristic-with-silver-pagoda-and-royal-palace-in-cambodia


พระที่นั่งนโปเลียนที่ 3

    เป็นพระที่นั่งสีขาว สไตร์ยุโปสร้างด้วยโลหะรูปตัว N เดิมเป็นตำหนักที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส สร้างประทานเเด่จักรพรรดินีเออเชนี สำหรับใช้เป็นที่ประทับคราวเสด็จร่วมงานเปิดคลองซุเอส ต่อมาถูกส่งมาเป็นของขวัญถวายแด่สมเด็จพระนโรดมในทศวรรษที่ 1870 โดยการรื้อถอดเป็นชิ้นๆลงเรือเเละนำมาประกอบใหม่


ที่มา:https://sinhcafetravel.com/news/voyeuristic-with-silver-pagoda-and-royal-palace-in-cambodia


วัดพระเเก้ว

     พระเจดีย์เงิน เดิมชื่อ วัดอุโบสถรตนาราม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ออกแบบโดยออกญาเทพนิมิตรและ Alavigne สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ตามเเบบศิลปะช่างเขมร ปูพื้นด้วยกระเบื้องสีเงิน 5,392 แผ่น  แต่ละเเผ่นหนัก 1 กิโลกรัม สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2446 และได้มีการฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ ภายในวัดไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา  เหตุเพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพระราชวัง วัดพระเเก้วยังมีมรดกอันล้ำค่ามากมาย 
เช่น พระพุทธรูปทองคำและอัญมณี พระพุทรูปสลักจากผลึกแก้วขนาดเล็ก และ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับมนุษย์ ประดับด้วยเพชร 9,584 เม็ด ได้มาจากเครืื่องราชกกุธภัณฑ์ของสมเด็จพระศรีสุวัตถิ์

        ส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนืองเป็นเขตพระราชฐานและที่ประทับของสมเด้จพระสีหนุด้านใต้ของพระราชวังประกอบด้วยหมู่อาคารพระคลังหลวง พระที่นั่งเปิดโล่ง ชื่อว่า พระที่นั่งโภชนีโสภา ใช้เป็นที่สำหรับตอนรับเเขกบ้านเเขกเมือง


ที่มา:http://hometheatrefrisco.com

                              
ที่มา:http://moonfleetasia.blogspot.com/2017/07/09072560-silver-pagoda-phnom-penh.html


    




ที่มา:https://sites.google.com/site/thxngtheiywchayfangthaleaec/home/thxng-theiyw-chayfang-prathes-kamphucha


       หากทุกท่านได้เดินทางไปเที่ยวประเทศกัมพูชา นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาตร์แล้วอย่างเช่น นครวัด และปราสาทอื่นๆเเล้ว  " พระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล " เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ควรจะไปเยี่ยมชมความงดงามของพระราชวังเเห่งนี้ ด้วยเป็นศิลปะเเบบช่างเขมรที่รังสรรค์ลวดลายอย่างสวยงามผสมผสานด้วยความเชื่อเเละศรัทธาให้ออกมาเป็นสถาปัยกรรมอันทรงคุณค่า ควรค่าเเก่การรักษาเเละทำนุบำรุงให้เเก่คนรุ่นหลัง ส่งเรื่องราวความเป็นมาของบรรพบุรุษ ความคิดสร้งสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้นศิลปะวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และทุกท่านจะได้สัมผัสความวิถีชีวิตของชาวกัมพูชาและพวกเขาจะกล่าวคำทักทายกับคุณว่า " ซัวสเด " ซึ่งพระราชวังสีทองแห่งนี้จะทำให้ทุกท่านต้องมนต์สะกดและหลงไหลในความสวยงามอย่างแน่นอน และไม่มีเหตุผลใดที่เราจะไม่ไปสัมผัสบรรยากาศความสวยงามด้วยตนเองซักครั้ง

*** ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ มีอาการสำรวมและปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด เมื่อเข้าไปยังพระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล ด้วยนะครับ






อ้างอิง


อีสาน.(ม.ป.ป.).พระราชวังหลวงในพนมเปญ.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จาก http://isaan.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8D/?lang=th

KHAOFANG.(2013).พระบรมราชวังจตุมุขศิริมงคล.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จากhttp://khaofangpebble.blogspot.com/2013/12/royal-palace-of-phnom-penh.html



govivigo.(ม.ป.ป.).พระราชวังหลวงกรุงพนมเปญ.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จากhttp://www.govivigo.com/ideas/26-cambodia-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8D

ภาพเก่าเล่าประวัติสุวรรณภูมิ.(2014).พระราชวังเขมรินทร์ แหล่งรวมศิลปะกรรม เขมร สยาม ฝรั่งเศส.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จากhttps://www.facebook.com/PhaphKeaLeaPrawatiSuwrrnphumi/posts/601108536648939:0

ม.ป.ก.( 2018).วัดพระเเก้วมรกต.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จากhttp://hometheatrefrisco.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%95/

ม.ป.ก.ที่มาของชื่อพนมเปญ.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561 จากhttp://www.planetholidaystravel.com/uncategorized/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8D/

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

" วัดพระธาตุจอมคำหลวง " ศรัทธาในพระศาสนา แห่ง เมือง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู


 

ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489

       หากพูดถึงประเทศแห่งพระพุทธศาสนาเชื่อได้ว่าประเทศเมียนร์มาคงจะเป็นประเทศหนึ่งที่ทุกคนนึกถึง เหตุด้วยประชากรส่วนใหญ่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเเรงกล้าและศาสนายังมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปะวัฒนธรรมอันสวยงามบนผืนแผ่นดินที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและหลากหลายทางศิลปะวัฒนธรรมที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนรวมทั้งผสมผสานให้เกิดความโดดเด่นและสวยงามดังเช่น  วัดธาตุจอมคำหลวง " เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนร์มา ศิลปะที่ผสมผสามระหว่างล้านนา ไทใหญ่และพม่า เข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นมรดกที่มีเอกลักษณ์งดงามและมีคุณค่าของคนรุ่นหลัง ภายใต้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่ดำรงอยู่จวบจนปัจจุบัน
                                 

ที่มา:http://chiangmaiguideline.com/do-and-do-not-in-chiang-mai/thai001/








ที่มา:https://pantip.com/topic/35811510

ประวัติ

          เมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ที่รัฐฉาน ประเทศเมียนร์มา เป็นเมืองอ้อมกอดของขุนเขา ขนาบข้างด้วยเเม่น้ำสาละวินเเละเเม่น้ำโขง โดยมีลำน้ำขืนเป็นลำสายหลักและเป็นที่มาของชาวไทเขิน อีกทั้งมีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่าหนองตุงซึงเป็นที่มาของชื่อเมือง เมืองเชียงตุงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมีความใกล้ชิดทางเครือญาติกับล้านนามาโดยตลอดและได้รับการขนานนามว่า เมือง 3 จอม ได้เเก่ จอมคำ  จอมมน จอมสัก  7 เชียง ได้เเก่ เชียงงาม เชียงจัน เชียงลาน เชียงขุ่ม เชียงอิน เชียงยืน เชียงจิน 9 หนอง  ได้เเก่ หนองตุง หนองโตง หนองแล้ง หนองยาง หนองโป่ง หนองเข้ หนองไค้ หนองตาช้าง เเละอีก 12 ประตูเมือง อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเมืองร้อยวัด ด้วยชาวเชียงตุงมีความรัทธาในพระพุทธศาสนาจำนวนมากและมีการสร้างสถาปัตยกรรม เจดีย์ พระพุทธรูป เพื่อเป็นพุทธบูชา ดังเช่น " วัดพระธาตุจอมคำหลวง " ถือเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่มืองเชียงตุง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าเจ็ดพันตู



ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489

การสร้างวัดพระธาตุจอมคำ
       

     วัดพระธาตุจอมคำหลวง หรือพระธาตุจอมทอง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าสัตตพันธุราชาฤเจ้าเจ็ดพันตู)ครองราชย์ในปี พ.ศ. 1893 สร้าบนเนินเขาจอมคำตรงข้ามกับหนองน้ำตุง ประกอบด้วยพระอุโบสถ วิหารซึ่งภายในมีภาพเขียจิตรกรรมฝาผนังลงลักปิดทอง เล่าเรื่องตำนานการสร้างวัดแห่งนี้และตู้เก็บคัมภีร์ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกซึ่งได้มาจากเชียงใหม่เพื่อใช้บวชแก่ลูกหลานชาวไทเขินในเชียงตุง อีกทั้ง " พระธาตุจอมคำหลวง " โดยองค์เจดีย์สูง 226 ฟุต กว้าง 84 ฟุตเชื่อว่ายอดเจย์ดีสร้างด้วยทองคำแท้บริสุทธิ์  ประดับด้วยเพชรพลอย 882 เม็ด  ใช้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า 

     ตามตำนานที่ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังบริเวณนี้เเละได้มอบพระเกศาให้เเก่นาคสองพี่น้องไว้ ต่อมาอีก 100 ปี เกิดภัยพิบัตรน้ำท่วมเมือง ตุงคฤาษีบุตรพญาว้องได้เเสดงอิทธิฤทธิ์ดลบรรดาลให้น้ำไหลรวมกันกลายเป็นหนองขนาดใหญ่เรียกว่าหนองตุง พญานาคจึงได้มอบพระเกศาให้เเก่ตุงคฤาษีและได้สร้างพระธาตุจอมคำบรรจุในที่สุด 



ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489





ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489


รูปแบบศิลปะกรรม
    

      ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงจำนวน 1 ชั้น รองรับฐานยก 3 ฐาน แต่ละฐานมีการเจาะซุ้มประตู(จระนำ)ไว้ประดิษฐานพระพุทธรูปตามซุ้มต่างๆชั้นละ 3 ซุ้ม  โดยชั้นที่3 มีการประดับลูกแก้ว เเละเจาะซุ้มเพียงด้านทิศเหนือเเละใต้เท่านั้น
   

     ส่วนฐานรององค์ระฆัง ประกอบด้วยฐานชั้นที่ 1 เป็นฐานบัวยก ท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้ว ชั้นที่ 2 ฐานบัวผังแปดเหลี่ยม ท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้ว และชั้นฐานบัวกลม ไม่มีการประดับลูกแก้วบนท้องไม้
   

     ส่วนยอด ประกอดด้วยบัวปากระฆังรองรับองค๋ระฆังหุ้มด้วยทองจังโกโดยรอบ ไม่ปรากฎบัลลัง ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนไล่ลำดับถึงกลีบบัวรองรับปลียอด



ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489



  การปฏิสังขรณ์
  

       พระธาตุจอมคำหลวงสร้างมาเป็นระยะเวลานาน ผ่านหลายช่วงเวลา เจ้าฟ้าหรือผู้ปกครองเมืองเชียงตุงเเต่ละพระองค์ได้บรูณะปฏิสังขรให้มีความสมบรูณ์และงดงามอยู่เสมอมา

  พ.ศ. 2052 โดย พระยาอาติตราช  ให้ชื่อว่า " พระธาตุจอมคำ "
  พ.ศ. 2062 โดย นางสุคันธาเกศา  ให้ชื่อว่า  " พระธาตุจอมตอ "

  พ.ศ. 2477 โดย เจ้าฟ้ารัตนก้อนเเก้วอินเเถลง ให้เชื่อว่า "  พระธาตุจอมตอง "
  พ.ศ. 2494 โดย เจ้าฟ้าชายหลวง   ให้ชื่อว่า  " พระธาตุจอมคำ "
    


ที่มา:https://pantip.com/topic/35844489




ภาพจิตกรรมฝาผนัง  " ลายคำ " ภายในวิหาร


ที่มา:https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=02-07-2011&group=163&gblog=146

ที่มา:https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=02-07-2011&group=163&gblog=146

ที่มา:https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=02-07-2011&group=163&gblog=146





ที่มา:http://www.tripdeedee.com/trips_detail.php?id=6

             วัดพระธาตุจอมคำหลวงถือได้ว่าเป็นวัดประจำเมืองเชียงตุงมีความประความเป็นมาควบคู่กันและยังสะท้อนให้เห็นความศรัทธาและยึดมั่นอย่างเหนี่ยวเเน่นในพระพุทธศาสนาที่สื่อผ่านศิลปะวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม อีกทั้งวิถีชวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาที่ช่วยสร้าสรรค์ศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวความอ่อนช้อยงดงามตามเเบบศิลปะผสมผสานระหว่าพม่าเเละไทใหญ่ทำให้  ทั้งยังเป็นสิ่งศักสิทธฺ์คู่บ้านคู่เมืองและบอกเล่าเรื่องราวความเป็นตัวตนของบรรพบุรุษที่ส่งผ่านถึงปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด และไปชื่นชมบรรยากาศที่สวยงามเก็บเป็นความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต บนผืนเเผ่นดินที่หลากหลายทางเชื้อชาติ แต่ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาช่วยจรรโลงซึ่งความเป็นมิตรไมตรีระหว่างกลุ่มคนเเละช่วยผสานทางศิลปะวัฒนธรรมให้มีคุณค่าเเละงดงาม ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่เราจะไม่ไปความสวยงามด้วยตนเองซักครั้ง




  อ้างอิง

พิพัฒน์พงษ์.( 2551).พระเจย์ดีเมืองเชียงตุงตั้งเเต่อดีตถึงปัจจุบัน.ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร


รวมมิตรเชียงรายทัวร์.(ม.ม.ป.).ตำนานเมืองเชียงตุง.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ.2561 จาก http://www.ruammitchiangraitour.com/xiang-tung.php

เชียงตุงอยู่ดีกินหวาน.(2561).วัดธาตุจอมคำ.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ.2561 จากhttp://www.chiangtungbiz.com/

มนทิรา.(2556).เมืองร้อยวัดที่รัฐฉาน มหายานเเห่งเชียงตุง.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายนาพ.ศ.2561.
จากhttp://www.newsdataonline.com/index.php/2011-03-14-05-46-05/2553/69-2011-03-14-04-55-38/2011-12-04-01-16-25/78486-2013-08-11-12-49-21